วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เตียวเทียนซือ(ราชครูแห่งสวรรค์)



เตียวเทียนซือ 

ราชครูแห่งสวรรค์


             จางเต้าหลิง หรือ จางหลิง หรือ จางฟูฮั่น ( ซึ่งในลัทธิเต๋าจะเรียกท่านว่า จางเทียนซือ ( ภูเก็ตบ้านเรา จะเรียกเป็นสำเนียงฮกเกี้ยน ว่า เตียวเทียนซือ) หรือท่านอาจารย์สวรรค์จาง ท่านเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิเต๋า นิกายเจิ้งอี ในสมัยฮั่น ( ยุค สมัยฮั่นคือ ประมาณ 206 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 220 เป็นยุคก่อน ยุคสามก๊กครับ)

             ได้มีการบันทึกในลัทธิเต๋าว่า ท่านเป็นลูกหลานรุ่นที่ 9 ของท่านจางเหลียง ซึ่งเป็นเสนาธิการของ เล่าปัง ผู้ก่อตั้งราชวงค์ฮั่น (หาอ่านเรื่องเล่าปัง และจางเหลียงได้ ในพงศาวดารจีนไซฮั่น) 
จางเทียนซือ เกิดวันที่ 15 เดือน 1 ปี ค.ศ. 34 ( ตรงกับ ปีพุทธศักราชที่ 577 และตรง กับยุคของอาณาจักรโรมันครับ) แต่บางตำราก็บอกว่า ท่านเกิดในวันที่ 18 เดือน 5 ปีเดียวกัน 
ใน วัยเด็ก ท่านถือได้ว่าเป็นเด็กอัจฉริยะเลยก็ว่าได้ เพราะท่านได้ศึกษาวิชาความรู้ต่างๆ อ่านตำรับตำราจากบัณฑิตต่างๆ จนแตกฉาน ว่ากันว่าตอนท่านอายุเพียงเจ็ดขวบ ก็สามารถท่องและจดจำ คัมภีร์เต้าเต๋อจิง ของท่านศาสดาเล่าจื้อ ได้ครบถ้วน ไม่ธรรมดานะครับ ใครเคยอ่านเต้าเต๋อจิง จะเห็นว่ามันลึกซึ้งและยากที่จะจดจำครับ 
นอก จากนี้ ท่านยังศึกษาวิชาดาราศาสตร์, วิชาแพทย์, วิชาว่าด้วยเรื่องปรากฎการของธรรมชาติ และอื่นๆอีกด้วย ซึ่งความรู้เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดท่านในการก่อตั้งลัทธิเต๋า ในเวลาต่อมา 


             ขณะ ที่ท่านอายุได้ 25 ปี ท่านได้สอบเข้ารับราชการ ในตำแหน่งผู้พิพากษา ในพื้นที่ฉงชิ่ง ( ปัจจุบัน เป็นเทศบาล นคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว ซื่อชวนและฉ่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมือง ขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม. มีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2548 31,442,300 คน) 
เมื่อ ท่านได้รับราชการมาในระยะเวลาหนึ่ง ท่านได้เบื่อหน่ายทางโลก และลาออกจากชีวิตข้าราชการ โดยท่านหันมาศึกษา เรื่องทางจิตวิญญาณ อย่างจริงๆ จังๆ 
ปี ค.ศ. 89 – ค.ศ. 105 (ช่วงอายุ 55 – 71 ปี) ท่านพร้อมลูกศิษย์มากมาย ได้เดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศจีน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (ซึ่งเป็นหลักคำสอนของเต๋า) และพบปะผู้คนเพื่อหาประสบการณ์ 


              ในช่วงที่ท่านเดินทางท่องเที่ยว กับ ลูก ศิษย์นั้น เมื่อมาถึงมณฑลเจียงซี (ปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำแยงซีเกียง ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑล เจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม. มีประชากร 42,840,000 คน) ท่านได้ตัดสินใจตั้งสำนักของท่าน ณ ภูเขาหลงหู่ (ภูเขา มังกรพยัคฆ์ ปัจจุบัน ทางการจีนเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงาม รวมไปถึงถ้ำ และวัดเต๋ามากมาย ที่ภูเขานี้มีรีสอร์ทด้วยครับ สามารถนั่งรถไปได้จากเมืองอิงถาน) และเริ่มศึกษาปรุงกลั่นยาอายุ วัฒนะ และตัวยาอื่นๆ เป็นต้นมา และว่ากันว่าท่านสามารถปรุงกลั่นยาอายุวัฒนะ ได้สำเร็จ เมื่อขณะที่ท่านอายุได้ 60 ปี 
ในปี ค.ศ. 142 ท่านไท่ซ่างเล่าจวิ้น ( ศาสดา ศาสนาเต๋า) ได้ ปรากฎกายขึ้นในสำนักของจางเทียนซือ เพื่อที่จะถ่ายทอดคำสอนของศาสนาเต๋าให้แก่ท่าน ตั้งแต่นั้นมาท่านจางเทียนซือ ก็เริ่มเปิดโรงเรียนสอนศาสนาเต๋าของท่านขึ้นเป็น ครั้งแรก 


           เมื่อท่าน จางเทียนซือมีอายุได้ 90 ปี ได้เกิดมีโรคระบาดขึ้น ณ มณฑลเสฉวน ท่านและลูกศิษย์ได้ช่วยกันรักษาชาวบ้านจากโรคระบาด แต่เนื่องจากชาวบ้านแถบนั้น เป็นคนยากจน ท่านก็ไม่ได้เรียกร้องเงินทองแต่อย่างใด เพียงแต่นำข้าวสารจำนวน 5 โต่ว (หน่วยตวงชั่งของจีน) มาเพื่อรับการรักษาก็พอ ตั้งแต่นั้นมา สำนักของท่านก็ได้รับการเรียกว่า “สำนักข้าวสารห้าโต่ว”


          ในปี ค.ศ. 159 (ก่อนยุคสามก๊ก 61 ปี) ท่านจางเทียนซือได้มอบตำแหน่งเจ้าสำนักข้าวสารห้า โต่ว ให้แก่บุตรชายคนโต ชื่อว่า จางเหิง สืบทอดต่อ ส่วนตัวท่านและภรรยาได้สำเร็จเป็นเซียนเต๋า โดยเชื่อกัน ว่าขณะนั้น ท่านมีอายุได้ 123 ปีเลยทีเดียว 
ตั้งแต่นั้นสำนักเต๋าของท่านก็ ได้ เผยแผ่ ลัทธิเต๋าตลอดมา (ปัจจุบันเรียกนิกายของท่านว่า เต๋านิกายเจิ้งอี ) จนถึง ปัจจุบัน ซึ่ง เป็นรุ่นที่ 64 ซึ่งเจ้า ลัทธิมีชื่อว่า ท่านจางหยวนเซียน ปัจจุบันพำนักอยู่ที่ประเทศไต้หวัน และทุกๆปี จะมีผู้ที่นับถือศาสนาเต๋า นิกายเจิ้งอีจำนวนมาก แวะเวียนไปเคารพท่านอยู่เสมอ 
ท่านจางหยวนเซียน เทียนซือลำดับที่หกสิบสี่ ได้ละสังขาร แล้วเมื่อเช้า (ตีสาม ถึงตีสี่) ของวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ตรงกับวันขึ้น 19 ค่ำเดือน 9 (จีน) ที่ไท่หนาน ไต้หวัน รวมอายุได้ 78 ปี


ขอขอบคุณ  http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/1926-1.html

หลิมฮู้ไท่ซือ



หลิมฮู้ไท่ซือ 


           หลินไท่ซือ หรือ หลินไท่ซือกง หรือ หลิมฮู้ไท่ซือ ท่านเกิดเมื่อวันที่สี่ เดือนสี่ ปี ค.ศ.1537 หรือปีพุทธศักราชที่ 2080 ณ บ้านหยุนเซียว มณฑลฟู่เจี้ยน หรือฮกเกี้ยน ในปีที่ 16 ของรัชสมัยฮ่องเต้เจียจิ้ง ราชวงศ์หมิงซึ่งตรงกับปีเกิดปีเดียวกับ King Edward ที่หก ของอังกฤษ, โชกุน อาชิกาย่า โยชิอากิของญี่ปุ่น และกษัตริย์จอนห์ที่3 ของประเทศสวีเดน 
ท่านมีชื่อจริงว่า หลินเสียชุน หรือฉายาว่า หลินฝู๋หยวน โดยในปีค.ศ.1565 ท่านได้เข้ารับราชการในตำแหน่งขุนนางในราชสำนักหมิงเป็นครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 28 ปีพอดี และท่านยังได้รับเชิญเข้าร่วมสภาฮั่นหลินซึ่งเป็นสภาที่ทรงอิทธิพลมากสำหรับบัณฑิตในยุคนั้น ซึ่งหน้าที่ของสภาฮั่นหลินคือ บันทึกและแก้ใขประวัติศาสตร์ของราชวงค์ รวมไปถึงการวางแผนการศึกษา และการสอบเพื่อเฟ้นหาบัณฑิตเข้ารับราชการอีกด้วย 


           สมาชิก ของสภาฮั่นหลินก่อนหน้าท่านหลิมไท่ซือนี้ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงสุดยอด ในยุคต่างๆทั้งสิ้น อาทิเช่น หลี่ไป่ , ไป่จูอี้, โอวหยางซิว และ เสิ่นโข่ว เป็นต้น และเป็นที่น่าเสียดายว่า บันทึกเก่าๆที่มีคุณค่าซึ่งเก็บรักษาอยู่ในห้องสมุดของสภาฮั่นหลินได้ถูกไฟ ไหม้ทำลายและโดนปล้นไปบางส่วนจากเหตุการณ์กบฎนักมวยที่มีกองกำลังนานาชาติ ได้ปิดล้อมพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี ค.ศ.1900 และสภาฮั่นหลินก็ต้องปิดฉากลงอย่างถาวรหลังจากเหตุการณ์กบฎซินห้ายใน ปีค.ศ. 1911 
ในปี ค.ศ.1568 ท่านได้รับเลือกเป็นมหาบัณฑิตในสภาฮั่นหลินและมีหน้าที่สำคัญคือการบันทึก และแก้ไขประวัติศาสตร์ของประเทศ 
ปี ค.ศ.1573 ท่านได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นไท่ซือ ซึ่งคอยให้การศึกษาแก่องค์รัชทายาท ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงที่สุดในชีวิตการรับราชการของท่าน และในปี ค.ศ.1607 ท่านก็ได้สิ้นชีวิตลง รวมอายุได้ 71 ปี ร่างของท่านได้รับการฝังอยู่ที่ภูเขาชีซิง(แปลว่าเขาเจ็ดดาว) มณฑลฮกเกี้ยน 
ตามประวัติได้มีการบันทึกว่า ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งไท่ซือนั้น ท่านได้ปราบปรามพวกอันธพาลนักเลงที่กำลังทำลายศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้อยู่ในพื้นที่ที่ท่านดูแลในฐานะของไท่ซืออยู่ หลังจากที่ท่านได้จับพวกอันธพาลได้หมดแล้ว ท่านจึงได้ทราบว่าศาลเจ้าแห่งนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อสักการะบูชาเทพเจ้ากิ้ว อ๋องไต่เต่ 


            และในคืนนั้นเอง กิ้วอ๋องไต่เต่ ได้มาปรากฎขึ้นในความฝันของท่าน เพื่อแสดงความขอบคุณที่ได้ช่วยเหลือศาลเจ้าให้รอดพ้นจากการทำลาย และในฝันนั้น องค์กิ้วอ๋องไต่เต่ ยังได้แต่งตั้งตำแหน่งให้ท่านเป็นกิ้วอ๋องไท่ซือกง อีกด้วย 

วัน ต่อมาท่านได้กลับไปที่ศาลเจ้า และได้เกิดเรื่องอัศจรรย์ขึ้น คือในศาลเจ้าได้มีเก้าอี้ซึ่งอุทิศไว้สำหรับท่าน ปรากฎขึ้นในศาลเจ้าของกิ้วอ๋องไต่เต่นั้นเอง ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็เคารพนับถือท่านในฐานะของ หลิมฮู้ไท่ซือ หรือกิ้วอ๋องไท่ซือกง เป็นต้นมาจวบกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งศาลเจ้าหรือแท่นบูชา(สินตั๋ว)โบราณๆ ที่บูชากิ้วอ๋องไต่เต่ มักจะมีการบูชาหลิมไท่ซือด้วย เพื่อเป็นการแสดงเคารพนับถือท่านเช่นกัน 
หลิมไท่ซือ ยังได้รับการยกย่องบูชาเป็นหนึ่งในเทพเจ้าของบรรพบุรุษคนแซ่หลิม หรือ แซ่หลิน ในภาษาจีนกลาง อีกด้วย


ขอขอบคุณ     http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/1926-1.html

เฮี้ยหู้อ๋องเอี๋ย



เฮี้ยหู้อ๋องเอี๋ย 


             มี ชื่อเดิมว่าเฮี้ยผิง หรือเฮี้ย เที้ยนเจี้ย เกิดในวันที่ 23 เดือน 8 ปี ค.ศ.666 ตรงกับสมัย ราชวังศ์ต่ง หรือ ถังในภาษาจีนกลาง บ้านเกิด ณ เมืองเล็กเสีย มณฑลโห่ตั่ง 
ชีวิตในวัยเด็ก ครอบครัวต้อง อพยพจากเมืองเล็กเสีย ไปอยู่ที่เมืองจ๋วนจิว ฮกเกี้ยน เนื่องจาก เมืองเล็กเสียนั้นประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยมาก เมื่อ ถึงเมืองจ๋วนจิว เงินทองของครอบครัวก็ใช้หมดไปกับการอ พยพ ทำให้บิดาของท่าน ต้องแบกหน้าไปหยิบยืมเงินของคนรู้จัก เพื่อน และผู้ปล่อยเงินกู้ต่างๆ 
แต่ ถึงครอบครัวจะลำบากยากจนเพียงใด ท่านก็ยัง มานะบากบั่นเสาะหาอาจารย์ผู้มีความรู้แขนงต่างๆ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ ทำให้ท่านมี ความรู้ในด้านการปกครอง การทหาร และการแพทย์เป็นอย่างดี จนท่านมี อายุสิบเจ็ดปี ท่านได้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการ และสอบผ่าน ได้เป็นอันดับที่สาม 
ปี หนึ่งในขณะที่ท่านรับราชการรับ ใช้ราชสำนักต่ง ท่านก็ได้รับคำสั่งให้เข้าไปในเขตพระราชฐานเพื่อ วิเคราะห์อาการประชวรของ จักรพรรดินีบูเช็คเทียน (ตอนที่ยังไม่ ได้เป็นฮ่องเต้หญิง) ด้วยความรู้วิชาแพทย์ที่ท่านเคยศึกษา ในวัยเยาว์ ท่านได้วิเคราะห์อาการป่วย และได้จ่ายยาให้บูเช็คเทียนเสวย จำนวน สามมื้อ จนอาการป่วยทุเลาหายไป ทำให้ท่านได้รับการเลื่อน ตำแหน่งเป็นขุนนางขั้นสูงทันที 


            ปี ค.ศ. 680 ท่านได้ปราบผู้รุกรานทางเหนือหรือพวก ปักฮวน ทำให้ท่านได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ของราชสำนักถัง ถึงท่านจะมีตำแหน่งที่ใหญ่โตเพียงใด หากผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชาของท่านได้รับบาดเจ็บจากสนามรบ ท่านจะเข้า ไปรักษาพวกเขาเหล่านั้นโดยตนเอง ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน และเอาใจใส่ ทหารเช่นนี้ทำให้ท่านได้รับการยำเกรงและเคารพนับถือของกองทัพ เป็นอย่าง ที่สุด 
ปี ค.ศ. 690 บูเช็คเทียนขึ้นครองราชย์ต่อจากลูกชาย และราชสำนัก ได้เรียกตัวท่านกลับเข้าวังหลวง เพื่อป้องกันท่าน ก่อกบถ เนื่องจาก ท่านเป็นคนจงรักภักดีกับราชวงศ์ถังมาก และไม่สามารถทนเห็นบูเช็คเทียน ขึ้นครองราชย์ต่อจากฮ่องเต้ถัง และเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็นราช วงศ์จิวได้ 
ท่านจึงขัดราชโองการ ไม่ยอมกลับ เข้าวังรับใช้บูเช็คเทียน และทำการฆ่าตัวตายเพื่อแสดงความ จงรักภักดีกับราชวงศ์ถัง ในวันที่ 13 เดือน 1 ขณะนั้นท่าน มีอายุได้เพียง 33 ปี 
หลัง จากที่ท่านเสียชีวิตลง ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมไปถึงชาวบ้านต่างพากันสร้างศาลเจ้า เพื่อระลึกถึงท่าน และกราบไหว้บูชาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 

ขอขอบคุณ   http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/1926-1.html

หุ่ยเต็กจุนอ๋อง



หุ่ยเต็กจุนอ๋อง 


           หุ่ย เต็กจุนอ๋อง หรือ กงเต็กถาว มีชื่อเดิมว่า เอี๊ยบซิ้ม บิดาชื่อเอี๊ยบเต๋ง*** มารดาแซ่ตัน เกิดวันที่สิบเดือนสิบสอง ในยุคราชวงศ์ซ้องใต้ (ปี ค.ศ.๑๑๘๙) รัชสมัยซุนฮี ณ บ้านโกเตียน หล่ำอั่ว ฮกเกี้ยน ท่านมีน้องชายหนึ่งคนชื่อว่า เอี๊ยบส่ำฮอก 
จากบันทึกที่พบในศาล เจ้าบรรพบุรุษบ้านหล่ำอั่ว ได้กล่าวไว้ว่าใน คืนที่ท่านถือกำเนิดนั้นได้มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นมาก มายในบ้านของท่าน รวมไปถึงทั้งหมู่บ้านหล่ำอั่วอีกด้วย โดยปรากฎเป็นแสงสว่างสุกใสเหนือบ้านของท่าน และมีกลิ่นหอมฟุ้งกระจายในบ้านรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง และหลังจากที่ท่านถือกำเนิดออกมา ก็ปรากฎมีแสงสีม่วงพุ่งขึ้นจากห้องทำคลอดไปสู่ท้องฟ้า 
ในปี ค.ศ.๑๒๐๑ ท่านมีอายุครบสิบสามปี ก็สามารถท่องจำและแต่งบทกลอนต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล้ว เมื่ออายุครบยี่สิบปี ท่านก็ถือได้ว่าเป็นบัณฑิตที่เก่งกาจผู้หนึ่ง ถือแม้นว่าท่านอยู่เกิดในครอบครัวบัณฑิตแต่ท่านก็ตัดสินใจที่จะ เรียนวิชาบู้ เพิ่ม เพื่อป้องกันตนเอง ครอบครัว และเพื่อช่วยประเทศชาติในสภาวะสงคราม ท่านจึงตัดสินใจเรียนวิชาบู้เมื่ออายุได้ยี่สิบเอ็ดปี จนกระทั่งหลายปีต่อมาท่านก็เรียนรู้วิชาบู้จนคล่องแคล้ว และเข้ารับใช้ชาติ โดยเข้าต่อสู้กับพวกกบ ถและผู้รุกราน 


           ในปี ค.ศ.๑๒๒๑-๑๒๒๓ ท่านได้ปราบขบถและผู้รุกราน มีความดีความชอบจนได้รับพระราชทานรางวัลและตำแหน่งจากราชสำนัก ซ้อง และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดสงคราม ระหว่างซ้องกับกิมขึ้น 
ปี ค.ศ.๑๒๔๕ ท่านมีอายุ๕๗ ปี ท่านได้สละชีวิต ตัวเองเข้าช่วยเหลือฮ่องเต้ซ้องที่ถูกกองทหารกิมบุกทำร้าย หลังจากที่ท่านเสียชีวิตลง ด้วยความจงรักภักดีขอท่าน ฮ่องเต้ได้ประทานชื่อท่านเป็นกงเต็กถาว 
หลังจากที่อาณาจักรกิม โดนโค่นล้มลงในสมัยราชวงศ์หมิง ก็ได้มีการสร้างศาลเจ้าเพื่อสดุดีวีรกรรมของผู้รักชาติในสมัยซ้อง ใต้ขึ้น และ ศาลเจ้าบรรพบุรุษเพื่อ รำลึกถึงหุ่ยเต็กจุนอ๋องก็เป็นหนึ่งในนั้น และได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีโดยชาวฮกเกี้ยนหล่ำอั่ว จนถึงปัจจุบัน 
ลักษณะของกิมสิ้นของท่านจะมีลักษณะดัง นี้ 
- หน้าแดงหรือดำ 
- มือขวาจับเข็มขัด และมือซ้ายวางบนเข่า 
- เท้าทั้งสองวางบนที่พัก เท้าของเก้าอี้ 
เพราะ ลักษณะของกิมสิ้นหุ่ยเต็กจุนอ๋องที่คล้ายกับของโกยเส้งอ๋อง ทำให้มีการเข้าใจผิดกันมากระหว่างเทพเจ้าสององค์ นี้ อีกทั้งโกยเส้งอ๋องยังมีชื่อเรียกอีก นามหนึ่งด้วยว่า โปอันหุ่ยเต็กจุนอ๋อง ซึ่งคล้ายกันมาก ทำให้คนเข้าใจผิด ไปกันใหญ่ครับ


ขอขอบคุณ  http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/1926-1.html

ออบิ่นซาม้า



ออบิ่นซาม้า 



ออบิ่นซาม้า หรือ เที้ยนซ่งเส้งโบ้ม้าจ้อ หน้าดำนั้นเองครับ มีหลายคนสงสัยว่า ทำไมม้าจ้อถึงหน้าดำ ทำให้เกิดความเข้าใจต่างๆกันไปมากมายครับ เช่น หน้าที่ดำนั้นเกิดจากควันธูปควันเทียนที่รมจนทำให้ หน้าท่านดำ บ้างก็ว่าที่หน้าดำ เพราะเกิดจากยางไม้ที่แกะกิมสิ้นไหลออกมา หรือบ้างก็ว่ากิมสิ้นตกลงไปในทะเลทำให้หน้าดำไปเลยก็มีครับ แต่จริงๆแล้วประวัติตำนานของ ออบิ่นซาม้า นั้นมีบันทึกและเชื่อกันมาแบบนี้ครับ


ปีหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิง ในขณะที่ม้าจ้อกำลังโปรดสัตว์ต่างๆตามปกติอยู่นั้น เชียนลี้ง้าน และซุนฮองหนี้ ได้แจ้งว่ามีหมอกดำปกคลุมเป็นที่ผิดสังเกตุ บริเวณเขาบู๊อีซาน ( ปัจจุบันภูเขานี้มีชื่อเสียงเรื่องชาฮกเกี่ยนมาก) เมืองฮกเกี่ยน ทันใดนั้นม้าจ้อและบริวารทั้งสองก็รีบตรงไปที่บู๊อีซานทันที 
เมื่อถึงบริเวณภูเขา ม้าจ้อได้แปลงกายเป็นสาวชาวบ้านเพื่อสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ใกล้ ชิด และได้ใช้อิทธิฤทธิ์เรียกเทพเจ้าที่ มาเพื่อไต่ถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว เทพเจ้าที่ได้กล่าวว่า ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ได้มีพายุฟ้าคะนองและมีปีศาจซึ่งมีกายเป็นสีดำทะมึนพุ่งลงมาจาก ฟ้าเข้าไป อยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในภูเขาบู๊อีซาน และหลังจากนั้นก็เกิดหมอกควันสีดำผวยพุ่งออกมาปก คลุมท้องฟ้าทั้งภูเขาบู๊อี และเมืองฮกเกี่ยน ชาวบ้านที่มาทำไร่บริเวณภูเขาที่หายใจเอาควันสีดำเข้าไป ก็ทำให้ใบหน้าของพวกเขากลายเป็นสีดำสนิท จนชาวบ้านหวาดกลัวและไม่กล้าเข้ามาทำไร่ไถนาบริเวณภูเขาอีก จนทำให้เกิดความวุ่นวายและเดือนร้อนกันไปทั่ว 


ม้าจ้อออกคำสั่งให้เชียนลี้ง้านและซุน ฮองหนี้ เฝ้าคุ้มกันอยู่บนอากาศ ส่วนม้าจ้อก็เดินเท้าขึ้นภูเขาเพื่อจะล่อจับปีศาจ เพื่อมิให้ผิดสังเกตุ ม้าจ้อได้ใช้อิทธิฤทธิ์เสกหน้าตัวเองให้เป็นสีดำเพื่อให้ปีศาจไม่ สงสัย เมื่อมาถึงปากถ้ำ ได้เกิดควันสีดำผวยพุ่งออกมาเพื่อเข้ามาทำร้ายม้าจ้อ ทันใดนั้นม้าจ้อได้กลับกลายเป็นร่างเดิมของท่าน และได้เข้าต่อสู้กับปีศาจควันดำนั้น แต่ด้วยอิทธิฤทธิ์เทพสวรรค์ของม้าจ้อ เจ้าปีศาจมิอาจที่จะเอาชนะได้ และกำลังจะหลบหนี เข้าไปในถ้ำ ขณะนั้นเองเชียนลี้ง้าน และซุนฮองหนี้ก็เข้ามาช่วยม้าจ้อจับตัวปีศาจควันดำ นั้นได้ 
หลังจากปีศาจควันดำโดนจับได้ ก็กลายร่างมาเป็นร่างเดิมของมัน ซึ่งก็คือปีศาจเต่าดำนั้นเอง และต่อมาปีศาจเต่าดำตนนี้ก็ขอติดตามม้าจ้อ ไปช่วยโปรดสัตว์โดยเฉพาะเวลาที่ม้าจ้อท่องเที่ยวไปในท้องมหาสมุทร ตั้งแต่นั้นมา


ขอขอบคุณ  http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/1926-1.html

กิมกะสิน



กิมกะสิน 


ในคติความเชื่อตามศาสนาเต๋านั้น กิมกะสิน หรือ ขุนพลสวรรค์เกราะทอง จะรู้จักกันในฐานะของขุนพลผู้พิทักษ์ของเทพเจ้าหยกหองไต่เทียนจุน หรือในฐานะของผู้ช่วย ของส่ำเช้งนั้นเอง 
ภารกิจของเทพเจ้ากิมกังสินในคติความ เชื่อศาสนาเต๋า จากบันทึกที่ปรากฎในการทำพิธีกรรมทางเต๋านั้น กิมกังสิน คือหนึ่งในเทพเจ้าที่มีความสำคัญ และต้องทำการอัญเชิญมาสถิตย์ ก่อนจะเริ่มทำพิธีใดๆ โดยเทพเจ้ากิมกังสินจะได้รับการ อัญเชิญมาเพื่อดูแลในเรื่องขอการแจ้งฎีกา หรือบอกล่าวให้โลกแห่งเทพได้รับรู้ โดยเฉพาะหยกหองไต่เทียนจุน หรือ ส่ำเช้งโตจ้อ และนอกจากนี้ กิมกังสินยังมีหน้าที่ในการประกาศราชโองการต่างๆจากหยกหองไต่เทียนจุน หรือ ส่ำเช้งโตจ้อให้โลกแห่งเทพและโลกมนุษย์ได้รับรู้อีกด้วย 
บางครั้งเราจะเห็นกิมกังสินอยู่คู่กัน กับ จูบุ๋นกง หรือ ขุนพลสวรรค์กังฮุยเจียด เพราะเทพทั้งสามนี้มีหน้าที่ดูแลเรื่องงานเอกสารต่างๆโดยตรงครับ 
ความเป็นมาของเทพเจ้ากิมกังสิน ได้มีการบันทึกไว้ว่า กิมกังสินนั้นคือรูปแบบหนึ่งของ พลังงานธาตุทองที่เกิดขึ้นในขณะที่เริ่มมี การแยกระหว่างโลกและสวรรค์เมื่อครั้งอดีตกาล และเมื่อมีการอุบัติขึ้นของกิมกังสิน ในตอนเริ่มแรกนั้น ท่านยังได้รับการ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ในโลกของเทพเจ้าด้วย แต่ก็มีเรื่องเล่ากันว่า บรรดาศักดิ์ของท่านโดยถอดโดยไซอ๋องโบ้ และโดนให้ลงมาเกิดใหม่ บนโลกมนุษย์ ด้วยเรื่องราวนี้ ทำให้เชื่อกันว่านักบวชเต๋ามักจะไม่วางรูปเคารพของเทพเจ้า ไซอ๋องโบ้ และกิมกังสินติดกันหรือใกล้กันครับ และชาวจีนก็ยังเชื่ออีกว่าแมลงเต่าทองคือร่างของกิมกังสินที่ลงมา เกิดในโลก มนุษย์ในตอนนั้นอีกด้วยครับ 


กิมกังสินกับประวัติศาสตร์จีน ได้ปรากฎร่องรอยของกิมกังสินในประวัติ ศาสตร์จีน มาตลอดตั้งแต่สมัยของอึ่งเต่ , สมัยราชวงศ์ถัง, สมัยราชวงศ์ซ้อง, สมัยราชวงศ์หมิง หรือแม้นกระทั่งในสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง และที่เป็นเรื่องเล่ากันอย่างเพร่หลาย คือในสมัยหมิง หลังจากปฐมจักรพรรดิจูหยวนจาง สถาปนาราชวงศ์หมิง จูหยวนจางก็ต้องการจะสร้างพระราชวัง และได้ให้ช่างทำการเขียนแบบราชวังใหม่ ขึ้น แต่จนแล้วจนรอดแบบพระราชวัง ใหม่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของจูหยวนจางเลย คืนหนึ่งจูหยวนจางได้มองไปบนท้องฟ้าและเห็นดาวดวงหนึ่งประกายเป็น แสงสี ทองอร่าม จูหยวนจางเลยอธิ ฐานให้ดาวประกายทองดวงนั้นช่วยท่านสร้างวังให้สำเร็จ 
หลังคำอธิฐานได้ปรากฎมีลำแสงสีทองพุ่ง ลงมาจากท้องฟ้า ตกลงเบื้องหน้า ของจูหยวนจาง และอันตรธานหายไป รุ่งขึ้นจูหยวนจางและอำมาตย์เล่าแปะอุ่น ได้ออกตรวจความพร้อมในการสร้างวัง เล่าแปะอุ่นได้มองเห็นเด็กหนุ่มคนหนึ่งกำลังก้มคำนวนด้วยลูกคิด อยู่ แต่เมื่อเล่าแปะอุ่นเดินเข้าไป ใกล้ เด็กหนุ่มก็อันตรธานหายไปเหลือ ไว้แต่ลูกคิดวางอยู่ เมื่อเล่าแปะอุ่น ก้มลงจะหยิบลูกคิดขึ้นมา ลูกคิดอันนั้นก็จมหายลงไปในดิน 


คืนนั้นเองจูหยวนจางก็ฝันเห็นแบบของ พระราชวังใหม่ และหลังจากที่ ตื่นก็รีบให้ช่างวาดแบบตามที่ได้เห็นในฝัน และให้ใช้ในการก่อสร้าง หลังที่ได้ก่อสร้างพระราชวังตามแบบที่ เห็นในฝันจนแล้วเสร็จ อำมาตย์เล่าแปะ อุ่นก็ประหลาดใจมาก เพราะรูปร่างของพระราชวังนั้น เหมือนกับลูกคิดที่ตนเคยเห็นและจะก้ม เก็บแต่จมลงไปในดินเสียแล้ว 
เรื่องราวนี้ได้ถูกเล่าขานกัน และทำให้ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่า พระราชวังของราชวงศ์หมิงนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นโดยการช่วยเหลือของกิมกังสินนั้นเอง


ขอขอบคุณ  http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/1926-1.html

หวางต้าเซียน


หวางต้าเซียน 


อักษรจีน: 黄大仙
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: หว่องไทซิน, อึ้งไต่เซียน
ภาษาจีนกลาง: หวางต้าเซียน
(Huáng Dà Xiān)

ความหมายของชื่อ:

=
Huáng อ่านว่า หวาง
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน หรือเป็นคำแปลว่า สีเหลือง
=
Dà อ่านว่า ต้า
แปลว่า ใหญ่

= Xiān อ่านว่า เซียน
แปลว่า เทวดา หรือ เซียน
 
 
ตามเทวะตำนานเล่าว่า เมื่อหลายพันปีก่อนนั้น องค์อึ้งไต่เซียนโจวซือเดิมเคยเป็นเต่าทองคำ (金龜 ซึ่ง จีนแต้จิ๋ว อ่านว่า: กิมกู, จีนกลาง อ่านว่า: จินกุย) อยู่หน้าแท่นบัลลังก์ขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้มาก่อน แต่เนื่องจากท่านได้เห็นความทุกข์ ยากของมวลมนุษย์ในหน้าแล้ง จึงเกิดความสงสาร ไปเปิดแม่น้ำสวรรค์ (ทงเทียงฮ้อ) ให้ไหลลงมายังโลกมนุษย์  แต่เนื่อง ด้วยการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการทำผิดกฎสวรรค์ เมื่อเง็กเซียนทราบความเข้า จึงได้ลงโทษให้เต่าทองคำลงมาเกิดในโลก มนุษย์


รูปปั้นองค์อึ้งไต่เซียนโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

อึ้งไต่เซียนโจวซือ เดิมชื่อชอเพ้ง แซ่อึ้ง เกิดในสมัยราช- วงศ์จิ่ง  ปีที่ 328  ของจีน ณ เมืองกิมฮั้ว (金华) หรือก็คือ เมืองจินหัว จังหวัดเจ้อเจียง มณฑลหังโจว ประเทศจีนใน ปัจจุบัน


ท่านมีหน้าที่ช่วยเหลือครอบครัว โดยการนำแกะไปเลี้ยง ตามภูเขาทั่วไป    ตอนที่ท่านอายุได้ 15 ปี ขณะที่ท่าน กำลังพาแกะไปเลี้ยง  ท่านได้พบกับนักพรตลัทธิเต๋าชื่อ กวงเซ้งจื้อ  ซึ่งชี้แนะให้ท่านไปปฏิบัติธรรมที่ภูเขาเชียะซ้ง ท่านจึงได้ตามไปฝึกฝนร่ำเรียนวิชา อยู่เป็นเวลากว่า 40 ปี กระทั่งบรรลุผลเป็นนักพรตช่วยเหลือผู้คนทั่วไป


ท่านมีชื่อเสียงว่าเป็น "นักพรตที่มีวาจาสิทธิ์" พูดสิ่งใด สิ่ง นั้นก็จะเป็นไปตามที่ท่านพูดหรือกล่าว ซึ่งระหว่างนั้นเอง พี่ชายของท่านนามว่า อึ้งชอคี่ ก็ได้ยินคำร่ำลือดังกล่าว แต่ ไม่เชื่อว่าน้องชายจะทำได้ จึงได้เพียรพยายามออกตระเวน ตามหาน้องชายไปทั่ว แต่ก็ไม่เคยพบ


จนเวลาล่วงไป เขาได้พบกับนักพรตรูปหนึ่งที่ตลาด  ซึ่งเก่ง ทางด้านการพยากรณ์ การทำนาย  นักพรตได้บอกกับเขาว่า น้องชายของเขานั้นยังมีชีวิตอยู่ และพาเขาไปยังภูเขาเชียะซ้ง เพื่อหาน้องชาย เมื่อไปถึงเขาจึงได้ไต่ถามองค์อึ้งไต่เซียน ผู้เป็นน้อง ถึงเรื่องคำล่ำลือเกี่ยวกับวาจาสิทธิ์ พลันก็ได้เห็น องค์ อึ้งไต่เซียนกำลังเสกให้ก้อนหินสีขาวจำนวนหนึ่ง กลายเป็นแกะนับหมื่นๆ ตัวทันที  บ้างก็กระโดด บ้างก็เดิน เมื่อได้เห็นถึง พลังวิเศษของอึ้งไต่เซียนโจวซือ เขาจึงเชื่อว่าน้องชายได้สำเร็จเป็นนักพรตแล้ว ดังคำร่ำลือ ทำให้เขาตัดสินใจมาศึกษา วิชาเต๋าตามองค์อึ้งไต่เซียน โดยเขาเลือกที่จะละทิ้งภรรยาและลูก เพื่อมาศึกษาร่ำเรียนวิชา บำเพ็ญเพียร ช่วยเหลือผู้คน ทั่วไปตามน้องชาย  และได้สำเร็จเป็นเซียนในเวลาต่อมา


ขอขอบคุณ  http://peawyeangtai31.org/wongtaisin.html

โป๊ยเซียนโจวซือ




โป๊ยเซียนโจวซือ

 ลี้ทิไกว้



อักษรจีน: 李鐵拐 / 李铁拐
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ทิก๋วยลี้
ภาษาจีนกลาง: หลี่เถียไกว่ 
(Lǐ Tiě Guǎi)

ความหมายของชื่อ:

=
Lǐ อ่านว่า หลี่  
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน ทั้งยังเป็น ชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีผลกินได้ ฝรั่งเรียกว่า "plum" มีรสชาติหวาน อมเปรี้ยว
=
Tiě อ่านว่า เถี่ย
แปลว่า เหล็ก

= Guǎi อ่านว่า ไกว่
แปลว่า ไม้ค้ำ, ไม้เท้า
 
   

ลี้ทิไกว้โจวซือ เป็นเซียนองค์ที่หนึ่งของโป๊ยเซียน โดยได้ชื่อว่า เป็นเซียนแห่งยาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  “เถียไกว่” หรือ “ทิไกว้” เป็นฉายาของท่าน หมายถึง "ไม้เท้าเหล็ก"  ซึ่งมาจากลักษณะของท่าน ที่มีขาข้างหนึ่งพิการ และต้องใช้ ไม้เท้าเหล็กคอยค้ำพยุงเวลาเดิน จึงกลายเป็นที่มาของคำเรียกขานว่า “หลี่ไม้เท้าเหล็ก” หรือ “หลี่เถียไกว่”


ลี้ทิไกว้โจวซือ เดิมแซ่ลี้ (จีนกลาง: หลี่) ชื่อง้วน (จีนกลาง: เหียน) เป็นชาวแคว้นสู่ (蜀 : ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลเสฉวน) เกิดในสมัยราชวงศ์จิว  เดิมทีนั้น องค์ลี้ทิไกว้โจวซือถือได้ว่าเป็นเป็นชายหนุ่มรูปงามคนหนึ่ง ที่มีความรู้ สติปัญญาเฉลียว ฉลาด ว่องไว ท่านเป็นคนอิสระ รักความสงบวิเวก มีใจฝักใฝ่ในการถือศีลกินเจ ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญเพียร ภาวนา สมาธิ เป็นนิจ มุ่งแสวงหาทางบรรลุมรรคผล ด้วยการออกบำเพ็ญเพียรในถ้ำลึกกลางป่า ท่านเพียรสมาธิภาวนาด้วยความแน่วแน่ อยู่หลายปี แต่ก็ยังไม่บรรลุผลอย่างไร จึงมาหวนคิดว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะท่านขาดผู้เป็นอาจารย์ที่จะอบรม แนะนำสั่งสอน เมื่อคิดได้ดังนั้น ท่านจึงออกเดินทางมุ่งตรงไปยังเขาเล่งห่วยหวย อันเป็นสำนักของท่านลีเหล่ากุน (องค์ไท้เสียงเหล่ากุง) อันเป็นหนทางทุรกันดารยิ่งได้ บุกป่าข้ามเขาข้ามห้วยลูกแล้วลูกเล่า ด้วยความเหน็ดเหนื่อยยาก ลำบากเป็นเวลาแรมเดือน จึงบรรลุเป้าหมาย แลขึ้นไปเห็นยอดเขาสูงเทียมเมฆ ทอดเทือกยาวสุดที่จะประมาณได้ แน่น ขนัดไปด้วยป่าสนที่สูงลิ่ว และมีลำต้นใหญ่มหึมา คะเนอายุน่าจะเป็นร้อยๆ พันๆปี ณ เวลาอาทิตย์อัสดง หมู่เมฆเคลื่อน ลอยเลื่อนละไปตามไหล่เขาและยอดเขา แปรเปลี่ยนสีสลับเลื่อมพรายน่าดูยิ่งนัก ทั้งยังเสียงนกสกุณชาติใหญ่น้อยที่โผผิน บินเกาะไปมา ก็ส่งเสียงร้องประสานขานขันอย่างไพเราะรื่นรมย์ใจ หลี่เหียนจึงได้หยุดพัก นั่งชมนก และหมู่ไม้อย่าง เพลิดเพลินจนมืดค่ำ จึงได้เดินตรงไปยังประตูถ้ำ ยกมือขึ้นหมายจะเคาะเรียก แต่ก็ฉุกคิดได้ว่าขณะนี้เป็นเวลาค่ำมืดแล้ว ใช่กาลที่จะเข้าไปรบกวน ทำลายความสงบของท่านผู้วิเศษ ทั้งยังดูเป็นการไม่ให้ความเคารพอีกด้วย ท่านจึงตัดสินใจนอน ค้างแรมตามพุ่มไม้แถวนั้น แล้วพรุ่งนี้จึงค่อยเข้าไปคำนับ ขอท่านเป็นศิษย์


เวลาเช้ารุ่งขึ้น ขณะที่องค์ลีเหล่ากุน และอวนคูเซียนกำลังนั่งสนทนากันอยู่ภายในถ้ำ ก็มีลมพัดพาเอากลิ่นดอกไม้หอม ระรื่นเข้ามาภายในถ้ำ ซึ่งเป็นที่ผิดสังเกตกว่าทุกวัน องค์ลีเหล่ากุนจึงได้บอกกับอวนคูเซียนว่า "ท่านพอจะทราบเหตุหรือไม่ ว่า ที่ลมพัดเอากลิ่นดอกไม้หอมประหลาดเข้ามาเช่นนี้ เป็นเพราะมีผู้วิเศษมาหาเราถึงสำนัก ข้าพเจ้าได้ตรวจดูบัญชีเซียน ทั้งปวงแล้ว เห็นว่าหลี่เหียนผู้นี้ เห็นจะได้สำเร็จเป็นเซียนในไม่ช้า และบัดนี้เค้าก็ได้มานอนอยู่ใกล้ประตูสำนัก แห่งเราแล้ว" อวนคูเซียนได้ฟังดังนั้น จึงสั่งให้เต้าหยินน้อยผู้เป็นศิษย์สองคนออกไปดู พอเต้าหยินน้อยออกมาถึงหน้าถ้ำ ก็พอดีเห็น นักพรตผู้หนึ่ง รูปร่างสง่างามผิว พรรณผ่องใส เดินออกมาจากพุ่มไม้ใหญ่ตรงข้ามกับประตูถ้ำ จึงตรงเข้าไปคำนับถามว่า

  เต้าหยินน้อย: "ท่านผู้แซ่หลี่ใช่หรือไม่"
  หลี่เหียน: "เหตุใดท่านทั้งสองจึงรู้จักเรา"
  เต้าหยินน้อย: "ท่านลีเหล่ากุน อาจารย์ของข้าพเจ้าบอกแก่อวนคูเซียนว่า ท่านแซ่หลี่ จะมาถึงยังสำนักในวันนี้ จึงได้ให้ข้าพเจ้าทั้งสองออกมาคอยรับ"

หลี่เหียนได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดี รำพึงว่าอันตัวเรากับอาจารย์ลีเหล่ากุน แต่ชาติก่อนคงจะได้เคยอุปถัมภ์กันมา ท่านจึงได้ ล่วงรู้ถึงการมาของเราดั่งนี้ การที่เราอุตส่าห์พยายามมุ่งหน้ามาครั้งนี้ คงจะเป็นผลสมความประสงค์เป็นแน่ คิดแล้วก็ตาม เต้าหยินน้อยเข้าไปภายในถ้ำ เห็นท่านลีเหล่ากุนนั่งอยู่บนอาสนะ มีฉวีวรรณสดชื่นผ่องใสปรากฏเบ็ญจรังสีอยู่รอบกาย ถัดมาเบื้องขวาเห็นเซียนผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่าทางสง่างามผึ่งผาย ผมขาว ตายาว คิ้วยาว ดั่งวาด นั่งอยู่ด้วย หลี่เหียนก็ตรง เข้าไปประสานมือทำความเคารพด้วยความปลื้มปิติ ท่านผู้สำเร็จทั้งสองก็คำนับตอบ จากนั้นลีเหล่ากุนก็ได้บอกให้หลี่เหียน นั่งในที่อันได้จัดไว้ แต่ท่านก็ไม่ยอมนั่ง ทั้งยังทำคำความเคารพอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกล่าวว่า 

  หลี่เหียน:
"อันตัวข้าพเจ้านี้ต่ำศักดิ์ ทั้งสติ ปัญญาก็น้อย เป็นผู้โง่เขลา ได้แต่เพียรพยายาม บำเพ็ญภาวนาโดยลำพังตน ปราศจากอาจารย์ผู้ชี้แนะ จึงมิได้บรรลุผล ข้าพเจ้าจึง ดั้นด้นบุกป่าฝ่าดง มาด้วยความอุตสาหพยายาม มิเห็นแก่ชีวิต เพื่อมุ่งมาขอกราบ เท้าท่านอาจารย์ มอบตัวเป็นศิษย์ ให้ท่านอาจารย์เมตตาอนุเคราะห์ ช่วยอบรม สั่งสอนข้าพเจ้า จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่ข้าพเจ้าจะนั่งตีตนเสมอท่าน อาจารย์ เพียงแค่ได้ยืนคอยรับโอวาทจากท่าน ก็นับว่าเป็นความเมตตาของท่าน อาจารย์มากแล้ว"
  ลีเหล่ากุน:
"เรากับเจ้านั้นได้พบกันในวันนี้ ก็เพราะได้เคยอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันมาแต่ชาติ ปางก่อน มาคราวนี้ เราก็จะได้ช่วยกันอีก ฉะนั้นขอให้เจ้าจงรับโอวาทปฏิบัตินี้ไป เจ้าจงพยายามสงบอารมณ์ทั้งมวลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาจาก ภายนอก หรือภายใน ร่างกาย เมื่ออารมณ์และร่างกายสงบแล้ว กามราคะทั้งหลายก็จะไม่เกิด เมื่อกาม ระคะสิ้นไป กิเลสทั้ง ปวงก็จะหายไป และเมื่อกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว จิตก็จะผ่อง ใสขาวบริสุทธิ์ หากปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็จะถึงซึ่งความเกษมสุขเป็น อมตะ"

เมื่อหลี่เหียนได้รับโอวาทนั้น ก็บังเกิดปิติซาบซึ้ง มีความเข้าใจถ่องแท้ในวัตรปฏิบัติของเซียน จึงก้มตัวลงกราบที่พื้น แล้ว พูดว่า "โอวาทของท่านอาจารย์ที่ให้แก่ข้าพเจ้านี้ เป็นหลักใหญ่แห่งการบำเพ็ญเพียรอย่างแท้จริง ซึ่งข้าพเจ้ามิเคยได้ยิน มาก่อนเลย" พร้อมทั้งหันไปคำนับอวนคูเซียนครั้งหนึ่ง อวนคูเซียนจึงว่า "ชื่อของท่านนั้น ได้ปรากฏในบัญชีเซียนแล้ว ต่อ ไปนี้ จงหมั่นปฏิบัติตามโอวาทคำสอนของท่านอาจารย์ลีเหล่ากุนเถิด ในไม่ช้าก็จะได้บรรลุผลสำเร็จแห่งเซียนภาวะเป็นแน่ แท้" จากนั้นอวนคูเซียนก็สั่งให้เต้าหยินผู้น้อยผู้เป็นศิษย์ไปส่งหลี่เหียน หลี่เหียนคุกเข่าลงกราบท่านลีเหล่ากุนสามครั้ง ใน ฐานะศิษย์คำนับอาจารย์ แล้วคำนับลาอวนคูเซียน เดินตามเต้าหยินน้อยออกจากถ้ำ กลับคืนสู่สำนักเดิม


ครั้นเมื่อหลี่เหียนกลับมาถึงสำนักแล้ว ก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรตามโอวาทของท่านลีเหล่ากุน เจริญภาวนา สำรวมจิตมั่น จนใน ที่สุด หลี่เหียนก็สามารถถอดจิตออกจากร่าง และใช้กายทิพย์ล่องลอยไปไหนต่อไหนได้ทุกหนแห่งตามความต้องการ ต่อมาเมื่อผู็คนรู้ว่าหลี่เหียนได้สำเร็จฌานสมาบัติแล้ว ต่างก็มีความนับถือ และขอปวารณาตนเป็นศิษย์หลี่เหียนจำนวนมาก จนกระทั่งอยู่มาวันนึง ขณะที่หลี่เหียนกำลังอบรมสั่งสอนบรรดาศิษย์อยู่ ก็ได้เห็นเบ็ญจรังสีส่องลอดเข้ามาตามช่องหน้าต่าง จึงได้สงบจิตพิจารณา ก็แจ้งว่าท่านลีเหล่ากุนผู้เป็นอาจารย์กับอวนคูเซียนกำลังจะมาที่สำนัก เมื่อแหงนหน้าดู ก็พบกับ อาจารย์ลีเหล่ากุน และอวนคูเซียนมาหาตน หลี่เหียนดีใจยิ่งนัก จึงคุกเข่าลงกราบสามครั้ง ท่านลีเหล่ากุนเห็นแล้ว ก็หัวเราะ ด้วยความพอใจแล้วพูดว่า "เราแจ้งในความรำพึงคิดของเจ้าตลอดแล้ว เรามีความพอใจในการปฏิบัติตามโอวาทของเจ้ายิ่ง นัก แต่ที่เรามาในวันนี้ ด้วยเราจะมาแจ้งแก่เจ้าว่า ต่อแต่นี้ไปอีก 10 วัน ให้เจ้านั้นถอดจิตไปกับเรา" ว่าแล้วลีเหล่ากุน และ อวนคูเซียนก็ลากลับไป 


ฝ่ายหลี่เหียน เมื่อส่งอาจารย์กลับไปแล้ว ก็เข้าปฏิบัติบำเพ็ญเจริญสมาธิภาวนาด้วยความขะมักเขม้น จนวันคืนล่วงผ่านไป จนครบกำหนด 10 วัน ตามที่ท่านลีเหล่ากุนผู้อาจารย์ได้สั่งไว้ ท่านจึงได้เรียก ลูกศิษย์เอกนามว่า "แปะอี / เอี้ยะจื้อ" (ต่อ มาก็คือ แปะอีเซียนท้ง) มาสั่งว่า "วันนี้เราจะถอดจิตออกไปหาท่านลีเหล่ากุน ผู้เป็นอาจารย์ของเรา ตามที่ท่านได้สั่งไว้ เราขอฝากให้เจ้า เป็นผู้รักษาร่างของเราไว้ เป็นกำหนดเวลา 7 วัน ในวันที่ 7 เราจะกลับมาเข้าร่างตามเดิม แต่หากเมื่อครบ กำหนด 7 วันแล้ว เรายังไม่กลับมาเข้าร่าง เจ้าจงเอาไฟเผาร่างของเราเสียเถิด เพื่อมิให้ผู้ใดรู้ และเกิดความยุ่งยากต่อไป แต่สำหรับในระหว่าง 7 วันนี้ เจ้าจงระวังรักษาร่างให้ดี อย่าให้เป็นอันตรายได้" เมื่อหลี่เหียนได้สั่งศิษย์เรียบร้อยแล้ว ก็เข้า ฌานถอดจิตไปพอองค์ลี่เหล่ากุนยังเขาเล่งห่วยหวยโดยพลัน


ฝ่ายแปะอีผู้เป็นศิษย์ เมื่ออาจารย์ได้ถอดวิญญาณไปแล้ว ก็ได้เอาใจใส่ดูแลรักษาร่างของอาจารย์เป็นอย่างดีตลอดมา ทำ เช่นนี้อยู่จนย่างเข้าวันที่ 3 ทางบ้านของแปะอีได้มาแจ้งว่า มารดาของเค้ากำลังป่วย ให้รีบกลับบ้านโดยเร็ว แต่แปะอี ด้วย ความเป็นห่วงอาจารย์จึงไม่ได้กลับไป จนล่วงเข้า วันที่ 6 คนใช้ที่บ้านแปะอี ก็ได้กลับมาแจ้งเค้าอีกครั้ง ว่ามารดาของเค้า กำลังป่วยหนักมาก ถ้ายังช้าอยู่ อาจไม่ทันการ แปะอีได้ฟังดังนั้นก็ร่ำไห้บอกว่า "อาจารย์ได้สั่งเราให้ระวังรักษาร่างของ ท่านไว้ 7 วัน แล้วท่านจะกลับมาเข้าร่างเมื่อครบวันที่ 7 วันนี้เป็นวันที่ 6 หากเราไปรักษาแม่ ใครเล่าจะเป็นผู้ดูแลร่าง อาจารย์แทนเรา" คนใช้ของแปะอีได้ยินดังนั้ง จึงพูดว่า "นี่ก็ตั้ง 6 วันผ่านไป ตับไตไส้พุงของอาจารย์ท่านคงจะเน่าเปื่อยไป หมดแล้ว จะฟื้นคืนมาได้อย่างไร อีกประการขอให้ท่านพิจารณาดู อันอาจารย์นั้นได้อุปถัมภ์สั่งสอนศิษย์ เมื่อเติบใหญ่แล้ว เท่านั้น แต่มารดานั้นได้เลี้ยงดูอุปถัมภ์มาแต่อ้อนแต่ออก ฉะนั้นการที่ท่านจะเอาบุญคุณของอาจารย์ มาเทียบกับคุณของ มารดานั้นไม่ควร และถ้าอาจารย์ท่านจะฟื้นคืนร่าง ป่านนี้ก็คงฟื้นมาแล้ว แต่นี้ข้าพเจ้ามาพิจารณาเห็นว่า ท่านคงสำเร็จเป็น เซียนไปแล้ว คงจะไม่กลับคืนมาอีกเป็นแน่ อีกประการหนึ่ง หากท่านทอดทิ้งร่างอาจารย์ไป ก็เพียงแต่ไม่รักษาสัญญาเท่า นั้น แต่หากท่านไม่ไปรักษาดูแลมารดาของท่านที่กำลังป่วยหนักนี้สิ ถ้าบังเอิญมารดาของท่านเสียไป ไหนเลยท่านจะพ้น คำครหาว่าท่านอกกตัญญู ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ ขอท่านจงพิจารณาเอาเองเถิด" 


แปะอีได้ฟังดังนั้นก็เห็นชอบด้วย แต่ครั้นจะทิ้งร่างอาจารย์ไว้เฉยๆ ก็เกรงจะมีใคร มาทำอันตรายกับร่างของอาจารย์ คิดไป คิดมาอยู่หลายตลบ นึกถึงคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ หากครบ 7 วัน ท่านยังไม่กลับมา ก็ให้เผาร่างของท่านเสีย นี่ก็วันที่ 6 เข้าไปแล้ว อาจารย์ก็ยังไม่กลับมา แปะอีจึงตัดสินใจเผาร่างของอาจารย์ พร้อมทั้งจัดเครื่องเจบูชา ร่ำไห้คุกเข่าลงกราบ ขอขมาผู้เป็นอาจารย์ บอกเล่าถึงความจำเป็นที่ต้องกระทำดังนี้ จากนั้นก็รีบเก็บข้าวของออกเดินทางไปพร้อมกับคนใช้ แต่เมื่อถึงบ้าน ก็พบว่ามารดาของเค้านั้นได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว


ฝ่ายองค์ลีเหล่ากุนและอวนคูเซียน ก็ได้พาจิตของหลี่เหียนท่องเที่ยวไปตามสำนักเซียนทั้งสิ้น 36 สำนัก เพื่อร่ำเรียนวิชา, ข้อปฏิบัติ, เวทมนต์ และรับคำแนะนำต่างๆจากทุกสำนัก จนล่วงเข้าวันที่ 7 หลี่เหียนเริ่มรู้สึกกังวลกับร่างที่ถอดทิ้งไว้ยัง สำนัก เกรงศิษย์จะเป็นห่วง จึงบอกลาต่ออาจารย์ ท่านลีเหล่ากุนได้ยิน ก็หัวเราะ แล้วกล่าวเป็นโศลกเป็นปริศนาว่า

          " ระแทะเปล่าเข้าทางจร
ผ้าขาดกลาดเกลื่อนลาน
อาลัยร่างกายเก่า
           กายาจะมีมา
ครั้นและจะเปะปะ
แต่จิตไม่หมองมล แล้วหยุดนอนหนุนข้าวสาร
พอพานพบก็หยิบมา
กลับเป็นเถ้าถมสุธา
หน้าตาไหม้คงได้ผล
ก้าวเกะกะตามถนน
ดลฤทธิ์ยิ่งทุกสิ่งอันฯ "



 
รูปปั้นองค์ลี้ทิไกว้โจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

ฝ่ายหลี่เหียนได้ฟังโศลกปริศนาในขณะนั้น ก็ยังไม่เข้าใจ ในความหมาย ทั้งวันนั้นก็เป็นวันครบกำหนด 7 วัน จึงมีแต่ ความกังวล เกรงว่าร่างจะเป็นอันตราย เมื่อได้กราบลา อาจารย์และอวนคูเซียนแล้ว ก็รีบกลับมายังสำนักโดยด่วน แต่เมื่อกลับมาถึง ก็ไม่เห็นร่างของตน ทั้งศิษย์ก็หายไปด้วย เหลือเพียงแต่โถกระดูก ท่านก็รู้ทันทีว่าผู้เป็นศิษย์คงเผา ร่างของตนเสียแล้ว ก็เสียใจเป็นอันมาก นึกติเตียนว่าศิษย์ ไม่น่าด่วนเผาร่างของท่านเลย หรือว่าศิษย์มีความจำเป็น เดือดร้อนอย่างไร จึงได้เข้าฌาณสมาธิเพื่อดูเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น จนได้ทราบถึงเรื่องราวทั้งหมด ถึงกระนั้นก็ดี ตัวท่าน เองยังไม่ได้เสียชิวิต ท่านจำต้องหาร่างใครซักคนมาแทน มิฉะนั้น หากครบ 7 วัน ท่านก็จะกลายเป็นวิญญาณเร่ร่อน พเนจร


ท่านจึงได้ออกหาร่าง ไปเรื่อยๆ จนเกือบจะข้ามผ่านวันที่ 7 ก็ไปพบเข้ากับร่างของคนที่เพิ่งจะเสียชีวิตมาไม่นาน นอน อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ด้วยอารามรีบร้อน ยามเกือบรุ่งสางที่เห็น อะไรไม่ค่อยชัด ท่านก็ตัดสินใจเข้าสวมร่างนั้นทันที โดยที่ ท่านเองก็ไม่รู้ว่าร่างนั้น มีลักษณะหน้าตาเป็นยังไง จน กระทั่งเมื่อรู้สึกตัว ก็พบว่า ร่างนั้นเป็นร่างของขอทานที่เพิ่ง จะสิ้นใจ ขาของเค้านั้นเสียไปหนึ่งข้าง ผมเผ้ารุงรัง ทั้งยังมี หน้าตาที่อัปลักษณ์ซะอีก    พลันบัดนั้น     หลี่เหียนก็ได้สติ 

หวนระลึกถึงคำโศลกปริศนาของท่านอาจารย์ขึ้นมา เกิดความสว่าง ในดวงปัญญา ตระหนักถึงเหตุการณ์ต่างๆ แต่อดีต และ ปัจจุบันได้โดยถ่องแท้ ขณะนั้นเอง องค์ไท้เสียงเหล่ากุงก็พลัน ปรากฏกายขึ้น และบอกกับท่านว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากลิขิตสวรรค์ ลิขิตสวรรค์ที่กำหนดให้ท่านต้องมาอยู่ในร่างนี้ ลิขิตสวรรค์ที่กำหนดให้ท่านมาเป็นเซียน และก็ เป็นลิขิตสวรรค์ที่ท่านจะต้องไปช่วยเหลือมวลมนุษย์ เมื่อพูดจบ ท่านก็มอบน้ำเต้าให้กับองค์ลี้ทิไกว้โจวซือไว้ เพื่อโปรด มนุษย์ และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับผู้คนที่เจ็บป่วย


เมื่อองค์ลี้ทิไกว้โจวซือได้สำเร็จมรรคผลแล้ว ท่านก็นึกถึงศิษย์ของท่าน จึงเข้าฌานพิจารณามองไปยังศิษย์ ก็รู้ว่ามารดา ของศิษย์นั้น ได้เสียไปก่อนที่ศิษย์จะกลับไปถึง เกิดความสงสาร คิดว่าบัดนี้ตัวเราก็ได้บรรลุผลสำเร็จดั่งความปรารถนาแล้ว สามารถที่จะช่วยคนตายที่ยังไม่เน่าเปื่อยให้กลับคืนชีวิตขึ้นมาได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะไปช่วยมารดาของแปะอี ผู้เป็นศิษย์ ของเรา คิดดังนั้นท่านก็ออกเดินทางไปยังบ้านของแปะอี ครั้นไปถึง ก็ได้เห็นแปะอียืนร่ำไห้คร่ำครวญกอดโลงศพ แล้วก็ เงยหน้าขึ้น ถอนใจยาว ตามองดูกั้นหยั่นที่ติดอยู่ข้างฝา แสดงอาการดังจะฆ่าตัวตาย ท่านจึงเดินเข้าไปใกล้ศิษย์และพูดว่า

  ลี้ทิไกว้โจวซือ:
"อันการเกิดการตายนั้นเป็นธรรมดาของสัตว์โลก จะห้ามจะป้องกันนั้นไม่ได้ หน้าที่ของบุตรนั้น เมื่อบิดามารดาชีวิตอยู่ ก็ควรจะดูแลท่านให้ดี เมื่อท่านถึง
แก่ความตาย บุตรก็มีหน้าที่บรรจุศพ ทำการฝังเสียในที่อันสมควร เสร็จจาก
นั้นแล้ว ก็ทำการไหว้อุทิศกุศลไปให้ท่าน หน้าที่ของบุตรมีดังนี้ ก็แล้วร่างที่
นอนอยู่ในหีบศพนั้น เกี่ยวข้องเป็นอะไรกับท่านเล่า จึงเศร้า โศรกดูดังจะฆ่า
ตัวตายฉะนี้"

แปะอีได้ฟังดังนั้นก็คิดว่า ชายแก่ขอทาน รูปร่างพิการสกปรกผู้นี้มาแต่ไหน ดูเครื่องใช้ก็มีแต่น้ำเต้าที่สะพาย และไม้เท้า ที่ถืออยู่ ที่น่าอัศจรรย์และแปลกกว่าขอทานอื่น ก็เพียงแต่ กิริยาวาจา และสุ้มเสียงที่ช่างคล้ายกับอาจารย์ของเขาเสียจริงๆ จำจะเล่าความจริงให้แกได้รับรู้ไว้ ถึงแม้เราจะฆ่าตัวตาย ความติฉินนินทาก็คงจะลดหย่อนลงบ้าง เมื่อคิดดังนั้นแล้ว แปะอี จึงตอบชายขอทานผู้นั้นไปว่า 

  แปะอี:
"ท่านผู้เฒ่าข้าพเจ้านี้ชื่อเอี้ยจื๊อ ผู้ที่อยู่ในโลงนี้เป็นมารดาของข้าพเจ้า" แล้ว
แปะอีก็เล่าเรื่อง ราวแต่ต้น จนจบให้องค์ลี้ทิไกว้ฟัง แล้วกล่าวว่า "ข้าพเจ้านี้
เป็นคนเลวผิดสัญญาต่อครูบาอาจารย์ที่ได้มอบความไว้วางใจให้     และยัง
อกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด โดยมิได้อยู่ดูแลรักษาพยาบาลท่าน มีความ
ผิดอย่างใหญ่หลวงถึงสองประการ คุณค่าของความเป็นคนดี   เป็นอันปราศ
หมดไปดั่งนี้แล้ว ก็ควรตายเสียดีกว่า จะอยู่ไปให้ได้รับความอัปยศ" 

ว่าแล้ว แปะอีก็ชักกั้นหยั่นจะเชือดคอตาย องค์ลี้ทิไกว้จึงเข้าแย่งเอากั้นหยั่นไว้
แล้วพูดว่า 

  ลี้ทิไกว้โจวซือ: "อันความกตัญญูนั้นอยู่ที่ใจ การที่ท่านมีน้ำใจดังที่ แสดงมานี้ นับว่าเป็นผู้
ที่ถึงพร้อมด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นอย่างดี  อนึ่ง การที่ท่านติเตียนตัว
เองว่า ไม่มีความกตัญญู รู้คุณบิดามารดานั้น   นั่นก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึง ความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา  นั่นก็เป็นเครื่องชี้ให้เป็นถึงความกตัญญูอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวท่าน  ขอท่านอย่าวิตกในการตายของมารดาท่านเลย ข้าพเจ้านี้เมื่อยังเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพร ถิ่นทุรกันดาร ได้มีวาสนา
พบกับท่านผู้วิเศษท่านหนึ่ง ได้ให้ยาแก่ข้าพเจ้าไว้  สำหรับช่วยผู้ที่มีคุณ-
ธรรมในเวลาคับขัน  มารดาของท่านเพิ่งตายเพียงสองวัน  ทั้งฤดูนี้ก็เป็น
ฤดูหนาว คงรักษาร่างกายไว้ได้คงยังไม่เน่าเปื่อย ลองเปิดโลง ให้ยากิน 
บางทีบุญวาสนาอาจช่วยให้ฟื้นคืนมาได้ "

แปะอีได้ยินดังนั้น ก็ดีใจเป็นอย่างยิ่ง ทรุดตัวลงกราบที่พื้น องค์ลี้ทิไกว้โจวซือจึงใช้ไม้เท้างัดฝาโลงออก จากนั้นก็นำยา (เรียกว่า เซียงตัง) ใส่ลงในชามละลายกับน้ำ แปะอีก็ทำการอ้าปากมารดา รับเอายามากรอกเข้าไปจนหมด ครู่หนึ่งมารดา ของแปะอีก็ฟื้นขึ้นมา เหมือนเพียงแค่หลับไปแล้วตื่นขึ้น แปะอีสุดแสนจะดีใจ ช่วยกันกับคนใช้พยุงมารดาออกจากโลง ผลัดเครื่องแต่งตัวเสียใหม่ แล้วจัดหาอาหารมาให้รับประทาน มีกำลังขึ้นเป็นปกติ เค้าจึงบอกแก่มารดาว่า มารดานั้นเจ็บ หนัก และได้หมดลมเสียไปแล้ว 2 วัน หากแต่โชคดีที่ท่านอาจารย์ผู้นี้มาพบเข้า ได้ให้ยาวิเศษกิน มารดาจึงได้มีชีวิตคืนมา ได้ มารดาของแปะอีได้ฟังบุตรชายเล่าให้ฟังดังนั้น ก็มีความปิติยิ่งนัก ลุกขึ้นคุกเข่ากราบองค์ทิไกว้ลี้โจวซือ ด้วยความ เคารพบูชาอันสูงสุด 3 ครั้ง แล้วก็ถามถึงชื่อ และแซ่เพื่อจักได้จำไว้เป็นที่เคารพบูชาต่อไปภายหน้า 


องค์ลี้ทิไกว้โจวซือคำนับตอบ แล้วหันมาพูดกับแปะอีว่า "เอี้ยจื้อเอ๋ย เรานี้มิใช่คนอื่นใดหรอก ที่แท้ก็คือหลี่เหียน อาจารย์ ของเจ้าเอง" ยังความงุนงงให้กับแปะอีผู้เป็นศิษย์อย่างยิ่ง แปะอีจึงเอ่ยกับผู้เป็นเซียนตรงหน้าว่า "ท่านเซียน ท่านจะเป็น อาจารย์ของข้าไปได้อย่างไรกัน อาจารย์ของข้านั้นสิ้นไปแล้ว ทั้งท่านยังเป็นชายหนุ่มรูปร่างหน้าตาดี จะเป็นไปได้อย่างไร กัน" องค์ลี้ทิไกว้โจวซือจึงได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้แปะอีได้ฟังทุกประการ แปะอีจึงได้เข้าใจ และขอตามรับใช้ท่านนับแต่ นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสำเร็จตามอาจารย์ไป




ฮั่นเจ็งลี้





อักษรจีน: 汉钟离 / 漢鍾離 
, 鐘离權
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ฮั่นจงหลี / ฮั่นเจ็งลี้
ภาษาจีนกลาง: จงหลีฉวน
(Zhōnglí Quán)

ความหมายของชื่อ:

鐘离 =
Zhōnglí อ่านว่า จงหลี
เป็นแซ่แบบอักษรคู่ สมัยโบราณ
= Quán อ่านว่า ฉวน
แปลว่า สิทธิ อำนาจ หน้าที่ และใน
สมัยโบราณ หมายถึง ตาชั่ง หรือ หลักการ
 
   
ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ เป็นเซียนองค์ที่สองของโป๊ยเซียน  เดิมแซ่เจ็งลี้  ชื่อค้วง ได้ฉายาว่า “เจี้ยเอี้ยงจื้อ” (正阳子 หรือที่ภาษา
จีนกลาง อ่านว่า เจิ้งหยางจื่อ) เป็นชาวเมืองห่ำเอี๊ยง (咸陽)  เข้ารับราชการตำแหน่งใหญ่โตเป็นแม่ทัพออกศึก แต่เนื่อง จากดวงไม่ส่งเสริมทางด้านศึกสงคราม จึงเบนเข็มออกมาทำมาค้าขาย โดยท่านได้ประกอบอาชีพขายหมู ซึ่งฮั่นเจ็งลี้ โจวซือเป็นคนที่มีมือตรงมาก เหมือนดั่งตาชั่ง กล่าวคือท่านสามารถหั่นหมูขายได้ โดยที่ท่านไม่ต้องใช้ตาชั่งใดๆ วัดเลย และน้ำหนักของหมูที่ท่านหั่นออกมานั้น ก็จะมีน้ำหนักที่ถูกต้อง ไม่เคยผิดเพี้ยน 


 
รูปปั้นองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

แต่ด้วยชะตาฟ้าดินกำหนดไว้แล้ว ให้ท่านเกิดมาเพื่อเป็น "เซียน" ไม่ใช่ขุนพล หรือคนขายหมู  วันนึงองค์ไท้เสียง เหล่ากุงจึงได้แปลงกายลงมา ทำทีท่าเป็นลูกค้ามาซื้อเนื้อ หมูกับองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ แต่เมื่อท่านหั่นเนื้อหมูตามจำนวน ที่องค์ไท้เสียงเหล่ากุงต้องการแล้วนั้น องค์ไท้เสียงเหล่ากุง กลับบอกกับท่านว่า "ตาชั่งของท่านนั้นโกง ท่านหั่นเนื้อหมู ให้ข้าขาดไป" 


ท่านจึงหันกลับไปมองกองเนื้อหมูที่หั่นไว้ ก็พบว่าหั่นขาด ไปจริง ดังที่องค์ไท้เสียงเหล่ากุงว่า ตอนนั้นเอง ท่านก็เริ่ม แปลกใจ ที่ท่านหั่นเนื้อหมูไม่ตรงตามน้ำหนักอย่างเคย  แต่ ท่านก็ยังไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก หันกลับมาหั่นเนื้อหมูเพิ่มลง ไป เท่าที่คิดว่าจะพอดีกับจำนวนที่องค์ไท้เสียงเหล่ากุงได้ สั่ง


แต่ทว่าครั้งนี้องค์ไท้เสียงเหล่ากุงกลับบอกท่านว่า ท่านเจ็ง ลี้ ท่านหั่นเนื้อหมูให้ข้าเกินไปอีกแล้ว  เมื่อองค์ฮั่นเจ็งลี้ โจวซือได้ยิน และเห็นดังนั้น ก็ยังความแปลกใจขึ้นทวีคูณ เอ่ยปากถามองค์ไท้เสียงเหล่ากุงกลับไปว่า "ตอนหั่น ข้าก็ ว่า ข้าก็หั่น ตรงตามน้ำหนักแล้ว ไยวันนี้มันจึงไม่ตรงดังเคย แล้วข้าจะต้องทำอย่างไร ถึงจะหั่นเนื้อหมูให้ท่านได้พอดีกันเล่า"



องค์ไท้เสียงเหล่ากุงจึงสบโอกาส และบอกกับองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือไปว่า แท้จริงแล้วนั้นอาชีพของท่านเจ็งลี้นั้นไม่ใช่การ ขายหมู ท่านไม่สังเกตเหรอ ว่าท่านขายหมูไปเท่าไหร่ ท่านก็ยังอยู่ที่เดิม ซื้อหมูมาเท่าไหร่ ก็ขายได้เท่านั้น ไม่มีกำรี้กำไร แต่อย่างใด  "ท่านเจ็งลี้  ตัวท่านนั้น มีดวงที่จะต้องประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้คน"   ทว่า เมื่อองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือได้ยิน เช่นนั้น ก็พลันแย้งกับองค์ไท้เสียงเหล่ากุงไปว่า "มันจะเป็นไปได้อย่างไรกันท่าน หรือท่านจะให้ข้านั้นกลับไปออกศึก สู้รบ อย่างเมื่อก่อน มันคงเป็นไปไม่ได้หรอก ตัวข้านั้นเบื่อราชการทหารเหลือเกินแล้ว" องค์ไท้เสียงเหล่ากุง เมื่อได้ยินดังนั้น จึงได้กล่าวแนะนำให้องค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือนั้น ไปศึกษาบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่า จนต่อมาได้สำเร็จบรรลุมรรคผล กลายเป็น เซียนองค์ที่ 2 แห่งโป๊ยเซียน




หลือต้งปิง

 


อักษรจีน: 吕洞宾 / 吕洞賓
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ลือท่งปิน / หลือต้งปิง
ภาษาจีนกลาง: ลยู่ต้งปิน
(Lǚ​ Dòng Bīn​)

ความหมายของชื่อ:

=
Lǚ อ่านว่า ลยู่่
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน หมายถึง กระดูกสันหลัง หรือ หลักการได้
ด้วย
= Dòng อ่านว่า ต้ง
แปลว่า รู หรือ ถ้ำ
= Bīn อ่านว่า ปิน
แปลว่า อาคันตุกะ หรือ ผู้มาเยือน
 
 
หลือต้งปินโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่สามของโป๊ยเซียน แท้จริงแล้วนั้น ท่านเป็นเทพเบื้องบนที่ถูกส่งลงมาจุติเป็นมนุษย์ เพื่อ ช่วยเหลือมวลมนุษย์  ท่านมีแซ่ว่าหลือ ชื่อง้ำ เป็นชาวเมืองเกียเตี๋ยว (京兆) เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ( 唐朝) ท่านเป็นผู้มี วิชาความรู้แตกฉาน อีกทั้งมีปฏิภาณไหวพริบเหนือคน แต่ทว่าเสียดายที่ท่านไม่มีดวงในการรับราชการ พยายามสอบแข่ง ขันเข้ารับราชการเพื่อเป็นจอหงวน ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ จนกระทั่งอายุย่างเข้า 64 ปีก็ยังไม่ติด


รูปปั้นองค์หลือต้งปิงโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

มีตำนานเล่าว่า สาเหตุที่เป็นเยี่ยงนี้ เพราะท่านโดนมังกร (ไหเหล่งอ๊วง) กลั่นแกล้งให้สอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่ท่านเป็นคน เก่ง และน่าจะสอบติด แต่สอบยังไงก็สอบไม่ได้ จึงเกิด ความเบื่อหน่ายต่อการที่จะเข้ารับราชการ ทอดอาลัยต่อการ
แสวงหาลาภยศ และท้อใจในทุกสิ่งทุกอย่าง จึงใช้ชีวิต เดินทางท่องเที่ยวไปทุกแห่งหน


จนกระทั่งอยู่มาวันนึง ท่านได้พบกับองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ ซึ่งองค์ฮั่นเจ็งลี้ก็ได้บอกกับท่านว่า ตัวท่านนั้นไม่ได้มีลิขิต ทางด้านนี้หรอก ท่านนั้นถูกส่งลงมาเพื่อให้ช่วยเหลือผู้คน จากนั้น ทั้งสองก็สนทนาเรื่องธรรมะกันอย่างถูกอัธยาศัย จนหลือต้งปิงโจวซือได้เห็นแจ้งแก่โลก จึงขอปวารณาตัว เป็นศิษย์ให้ฝึกอบรมสั่งสอน องค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือจึงนำท่าน ไปบำเพ็ญเพียรภาวนาด้วย จนสำเร็จเป็นเซียนองค์ที่สาม แห่งแปดเซียน

ภายหลังจากที่ท่านได้สำเร็จเป็นเซียนแล้ว ท่านก็ยังมีห่วง กับภรรยาและลูก  จึงได้กลับไปเยี่ยมบ้าน  แต่กลับพบชาย ชราคนนึง ซึ่งก็คือบุตรของท่านเอง ที่บัดนี้ได้แก่ชราลงมาก บอกกับท่านว่า บิดาของเขาได้ออกไปสอบเข้ารับราชการ

เมื่อนานมาแล้ว จนบัดนี้ก็ยังไม่กลับมา เลยตั้งป้ายไหว้ให้กับบิดา ซึ่งก็คือชื่อของท่าน หลือต้งปินนั่นเอง ท่านจึงคิดว่าท่าน นั้น ได้หมดภาระจบจากทางโลกแล้ว จากนั้นท่านจึงออกเดินทางเพื่อโปรดมนุษย์สืบต่อไป




ฮั่นเซียงจื้อ

อักษรจีน: 韩湘子
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ฮั่นเซียงจื้อ
ภาษาจีนกลาง: หาญเซียงจื่อ
(Hán Xiāng Zǐ​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Hán อ่านว่า หาญ
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน ไม่มีคำ
แปลโดยตรง แต่เป็นชื่อรัฐสมัย
โบราณ
= Xiāng อ่านว่า เซียง
ไม่มีคำแปลตรงตัว แต่เป็นชื่อ
เดิมของมณฑลหูหนาน
= Zǐ อ่านว่า จื่อ
แปลตรงตัว หมายถึง ลูกชาย
 
 
ฮั่นเซียงจื้อโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่สี่ของโป๊ยเซียน เป็นชาวเมืองน่ำเอี๊ยง (南陽) เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเป็นผู้รอบรู้ ศึกษาคัมภีร์เต๋าจนแตกฉานตั้งแต่เยาว์วัย มีความสามารถพิเศษในเชิงกวี และดนตรีเป็นเลิศ โดยเฉพาะ “ขลุ่ย” เสียงขลุ่ย
ของท่านมีความไพเราะมาก จนสามารถสะกดให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้มหลงใหล



รูปปั้นองค์ฮั่นเซียงจื้อโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2


ท่านเป็นหลานชายของฮั่นหยู ซึ่งรับราชการเป็นปลัดของ กระทรวงวัง ด้วยความสามารถของท่าน ท่านจึงคอยช่วย งานราชการต่างๆ ของบิดา และฮั่นหยู ผู้เป็นลุงมาโดย ตลอด จนทำให้การงานต่างๆ ของบิดา และ ลุงสามารถ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


ครั้งหนึ่ง ในเมืองจะเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ ฮั่นหยู ผู้ เป็นลุง จำเป็นต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำใหญ่ ให้สำเร็จ เพื่อพาชาวบ้านหนีภัย หลบน้ำท่วม ข้ามไปอีกฝั่งนึงของ แม่น้ำ แต่ในสมัยนั้น การจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่ใหญ่ ขนาดนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก ยิ่งเป็นการสร้างภายในระยะ เวลากระชั้นชิด ก็ยิ่งยากเป็นทวีคูณ


ฮั่นหยูจึงได้ขอร้องให้หลานชาย หรือก็คือองค์ฮั่นเซียงจื้อ โจวซือช่วยเหลือ ซึ่งองค์ฮั่นเซียงจื้อเอง ณ เวลานั้น ท่าน ก็เกิดนิมิตถึงองค์ไท้เสียงเหล่ากุง มาบอกกับท่านว่า ให้ท่าน
นั้นใช้วิชาของท่าน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน โดยเดินทางไป ที่ภูเขาเฟิ่งหวง และเสกก้อนหิน ที่ภูเขานั้น ให้เป็นแพะเดิน ตามท่านมายังแม่น้ำที่ต้องการจะสร้างสะพาน ซึ่งทั้งหมดนี้ ท่านจะต้องทำให้สำเร็จภายในคืนนั้น เพื่อสร้างสะพานให้ สำเร็จลุล่วง และอพยพชาวบ้านข้ามฝั่งแม่น้ำให้ทัน เพราะนี่ เป็น ลิขิตแห่งสวรรค์ที่ให้ท่านช่วยเหลือมวลมนุษย์ ดังนั้นท่านจึงรุดไปยังภูเขา และเสกหินให้เป็นแพะ เดินตามเสียงขลุ่ย ของท่านมายังแม่น้ำ และถมก่อเป็นสะพานหินขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งฟ้าสาง สะพานก็สร้างเสร็จพอดี ประจวบกับที่น้ำมา ประชาชนก็เลยเดินข้ามฝั่งไปได้  และเรื่องนี้ก็กลายเป็นตำนานที่คนกล่าวขานถึงองค์ฮั่นเซียงจื้อโจวซือ พร้อมทั้งตั้งชื่อ สะพานนั้นว่า “สะพานเซียงจื้อ” หรือ “สะพานกวงจี้” ในปัจจุบันนั่นเอง





เฉ่าก๊กกู๋



อักษรจีน: 曹国舅
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: เฉ่าก๊กกู๋
ภาษาจีนกลาง: เฉากว๋อจิ้ว
(Cáo Guó Jiù​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Cáo​​​ อ่านว่า เฉา
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน
= Guó ​​​อ่านว่า กว๋อ
แปลว่า เมือง, ประเทศ, ชาติ
= Jiù​​​ อ่านว่า จิ้ว
แปลว่า พี่ชาย หรือน้องชายของ
มารดา รวมถึงใช้เรียกพี่ชายหรือ
น้องชายของภรรยาได้ด้วย ที่คน
ไทยคุ้นเคยกับคำว่า “อากู๋”
 
 
 
เฉ่าก๊กกู๋โจวซือ เป็นเซียนองค์ที่ห้าของโป๊ยเซียน เกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตามประวัติบอกไว้ว่าท่านเป็นน้องชายของเฉา ฮองเฮา สมเด็จพระราชินีของจักรพรรดิซ่งเหรินจง (เสวยราชย์ ในช่วง พ.ศ. 1565 - 1606) หรือก็คือพระมาตุลา (น้า) ของฮ่องเต้



รูปปั้นองค์เฉ่าก๊กกู๋โจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2



ชาวเมืองจึงต่างพากันเรียกท่านว่า “ก๊กกู๋” ซึ่งแปลว่า "พระ มาตุลา เมื่อยังเยาว์ได้ศึกษาอักษรศาสตร์ และวิทยาการ ต่างๆ จนเจนจัด แตกฉาน ท่านมีนิสัยที่เถรตรง มีเมตตา และรักสงบ แต่เนื่องจากท่านละอายที่น้องชายนั้นถืออำนาจ ของพี่สาวไปรังแก และก่อกรรมทำบาปกับชาวบ้าน จนถูก เปาบุ้นจิ้นตัดสินประหารชีวิต อีกทั้งตัวท่านเองก็เบื่อในชิวิต ราชสำนัก ท่านจึงตัดสินใจที่จะปลีกตัวออกมา เพื่อแสวงหา ความสงบสุขทางใจ คิดได้ดังนั้น ท่านก็ปฏิบัติตนอย่างนัก บวช ถือศีลกินเจ และออกหาที่วิเวก เพื่อบำเพ็ญเพียร ภาวนา มอบทรัพย์สมบัติให้กับบุตรภรรยา ทั้งยังแจกเงิน ทองส่วนที่เหลือ ให้เป็นทานแก่คนยากคนจน แล้วก็สวม เครื่องแต่งกายแบบเต้าหยิน เที่ยวเดินทางแสวงหาที่สงบ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จนได้พบถ้ำที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง ก็จัดแจงทำความสะอาด และเข้าพำนักบำเพ็ญเพียร เจริญ ภาวนาอยู่ ณ ถ้ำนั้นเป็นเวลาหลายปี จนบรรลุผลสำเร็จ มีฌานตบะอันกล้าแข็ง


เหตุนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงองค์ไท้เสียงเหล่ากุง จึงได้มีบัญชาให้ องค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ และหลือต้งปิงโจวซือไปรับตัว เซียนทั้ง สองรับบัญชาแล้ว ก็เหยียบเมฆเหาะมายังถ้ำที่อยู่ขององค์ เฉาก๊กกู๋ ทั้งสามเมื่อได้พบกัน ก็ทักทายปราศรัยกันด้วย ความยินดี ซักพักองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือก็ถามท่านขึ้นว่า


  ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ: "ท่านก๊กกู๋ การที่ท่านปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทั้งนี้ เพื่อประสงค์สิ่งใดฤา"

  เฉาก๊กกู๋โจวซือ: "ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์สิ่งภายนอกใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากความ
แท้จริงภายในเท่านั้น"

  หลือต้งปินโจวซือ: "แล้วความแท้จริงนั้นอยู่ที่ไหนฤา"

องค์เฉาก๊กกู๋ได้ฟังดังนั้น ก็ยิ้ม แล้วชี้นิ้วขึ้นฟ้าเป็นคำตอบ

  หลือต้งปินโจวซือ: “แล้วที่ท่านชี้ขึ้นไปบนฟ้านั้นอยู่ที่ใด”

คราวนี้องค์เฉาก๊กกู๋กลับผงกศีรษะ หัวเราะชอบใจ แล้วลดมือชี้กลับมายังที่หัวใจ
เซียนทั้งสองเห็นดังนั้น ก็หัวเราะด้วยความพอใจ แล้วว่า

  ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ:
หลือต้งปินโจวซือ:
“ความแท้จริงนั้นก็คือใจ ใจก็คือฟ้า ฟ้าก็คือใจ บัดนี้ท่านค้นพบตัวเองแล้ว
การบำเพ็ญภาวนาก็เพื่อความเข้าถึงธาตุแท้แห่งใจ เมื่อท่านบรรลุผลดั่งนี้
แล้ว ก็เป็นอันท่านได้รับค่าแห่งการบำเพ็ญเพียรสมปรารถนาแล้ว ขอเชิญ
ท่านไปยังสำนักท่านอาจารย์ลีเล่ากุนด้วยกันเถิด”

องค์เฉาก๊กกู๋ก็คำนับเซียนทั้งสอง แล้วเหยียบเมฆเหาะไปยังเขาเล่งห่วยหวยพร้อมกัน จากนั้นองค์เฉ่าก๊กกู๋ ก็ได้รับการถ่าย ทอดมรรควิธี พร้อมทั้งคำชี้แนะ ให้ท่านมาช่วยเหลือโปรดมวลมนุษย์ จนกระทั่งสำเร็จเป็นเซียนในเวลาต่อมา




หน่าไฉฮั้ว



อักษรจีน: 蓝彩和
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: หน่าไฉฮั้ว
ภาษาจีนกลาง: หลานไฉ่หัว
(Lán Cǎi Huó​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Lán อ่านว่า หลาน
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน หรือเป็นคำ
แปลว่า สีน้ำเงิน, สีคราม
= Cǎi อ่านว่า ไฉ่
แปลว่า เก็บ, เด็ด รวม ส่วนมากใช้
กับการเก็บดอกไม้ ผลไม้ หรือพืช
ผัก
=
Huó อ่านว่า หัว
แปลได้หลายอย่าง สุภาพ, อ่อน โยน, เข้ากันได้, เสมอกัน หรือ สามัคคี
 
 
หน่าไฉฮั้วโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่หกของโป๊ยเซียน  เดิมแซ่น้า ชื่อชีฮุ้ง (棲雲) เป็นชาวเมืองเชี่ยงอัน (長安) เกิดในสมัย
ราชวงศ์ถัง เป็นคนรักอิสระ ชอบเดินทางท่องเที่ยว ร้องเพลงขอทานเรื่อยมา ถ้าวันใดขอทานได้เงินมามาก ก็แจกจ่ายให้แก่ คนแก่คนเฒ่าที่ยากจนทั้งหญิงชาย บางคราวนึกคึกขึ้นมา พอได้เงินอีแปะมามาก ก็เอาเชือกร้อยเป็นพวงยาว แล้ววิ่งเล่นไป ตามถนน ไม่สนใจว่าเชือกที่ร้อยพวงอีแปะจะขาด ท่านก็ไม่สนใจ ยังคงวิ่งลากไปจนเงินหมดพวง พวกคนยากจน และเด็ก ตามถนนก็พากันวิ่งตามเก็บกันอย่างชุลมุนสนุกสนาน


รูปปั้นองค์หน่าไฉฮั้วโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

ท่านมีอุปนิสัย และแบบอย่างคล้ายกับ "กวีหลีไป๋" หรือ "หลี่แป๊ะ" กวีเอกของจีนในสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อใดก็ตามที่ ท่านเมา ท่านก็จะขยับกรับในมือ เสียงก้องกังวาล พลางขับ ขานเพลงออกมา ด้วยน้ำเสียง และท่วงทำนองอันไพเราะ โดยบทเพลงที่ร้องออกมา ล้วนแต่เป็นเพลงภาษิต โคลง กาพย์ กลอน ที่สอดแทรกธรรมะเป็นคติเตือนใจคน ทั้ง เพราะ ทั้งน่าฟัง เป็นที่ชอบ และเพลิดเพลินใจ แก่ผู้คนทั้ง หลาย กรับประจำตัวของท่านนั้น มีรูปลักษณะผิดกับ กรับธรรมดา คือ ยาวถึง 4 คืบครึ่ง กว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ หนา 1/2 นิ้ว เนื้อกรับเป็นผิวมันเงาวาว คล้ายเนื้อหยก เวลา ที่ท่านขยับกรับ เสียงดังกังวาลน่าฟังยิ่งนัก


ต่อมาองค์ลี้ทิไกว้โจวซือ และองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ รู้ว่าองค์ หน่าไฉฮั้วนั้น มีบุญญาธิการที่จะมาช่วยเหลือมวลมนุษย์ ท่านจึงต้องการที่จะลองใจองค์หน่าไฉฮั้ว โดยเซียนทั้งสอง ได้หลอกให้องค์หน่าไฉฮั้วนั้นดื่มสุรา และเดินพูดคุยกันไป เรื่อยๆจนถึงสะพาน ซึ่งระหว่างทางที่เดินนั้น องค์หน่าไฉฮั้ว ก็ได้บอกกับเซียนทั้งสองว่า ตัวท่านเองนั้นมีความเก่งกล้า สามารถในด้านต่างๆมากมาย เซียนทั้งสอง เมื่อได้ยินดังนั้น จึงตอบกลับ เพื่อทดลองใจองค์หน่าไฉฮั้วไปว่า “ไม่จริง หรอกมั้ง เพราะหากท่านเก่งจริง ท่านก็ต้องสามารถกระโดด ลงไปในแม่น้ำ แล้วไม่จมน้ำสิ”


องค์หน่าไฉฮั้วได้ยินเข้า ก็ตอบกลับไปในทันทีว่า “ทำไมข้าจะไม่กล้าโดดล่ะ ข้าไม่กลัวตายหรอก” แล้วท่านก็เดินขึ้น สะพานไป จากนั้นก็กระโดดลงมาจากสะพานทันที แต่เมื่อตัวของท่านจะถึงพื้นน้ำ ก็เกิดสิ่งอัศจรรย์ มีกองขยะผุดขึ้นมา จากสายน้ำ เพื่อรองตัวของท่านไว้ แล้วก็ลอยไป จากนั้น ท่านก็ได้สำเร็จเป็นเซียนในเวลาต่อมา



ฮ้อเซียงโกว

อักษรจีน: 何仙姑
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ฮ่อเซียงโกว
ภาษาจีนกลาง: เหอเซียนกู
(Hé Xiān Gū​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Hé อ่านว่า เหอ
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน
= Xiān อ่านว่า เซียน
แปลว่า เทวดา, เซียน
=
Gū อ่านว่า กู
แปลว่า สตรี
 
 
ฮ้อเซียงโกวโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่เจ็ดของโป๊ยเซียน  เดิมแซ่ฮ้อ ชื่อค้วง (瓊) เป็นชาวเมืองเจิงเฉิง (增城市) ปัจจุบัน
คือ อำเภอเจิงเฉิง เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ท่านเกิดในสมัยราชวงศ์ถัง มีอุปนิสัยชอบทำบุญใส่บาตร ช่วยเหลือชาว
บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ โดยที่ไม่หวังสิ่งใดๆ ตอบแทน


รูปปั้นองค์ฮ้อเซียงโกวโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2


และเนื่องด้วยท่านเป็นคนที่ชอบทำบุญใส่บาตร อยู่เป็นนิจ นำข้าว และกับข้าวไปใส่บาตรทุกวัน แต่กลับนำน้ำข้าวมา ให้พี่ชายของท่านกิน ทั้ง ๆ ที่เค้าต้องออกไปทำนากลับมา พี่ชายของท่านเลยไม่ชอบใจนัก


อยู่มาวันหนึ่ง องค์ฮ้อเซียงโกวโจวซือได้พบกับองค์หลื่อต้ง ปิน  องค์หลื่อต้งปินโจวซือก็ได้บอกกับท่านว่า ท่านนั้นเป็น คนที่มีบุญญาธิการ สามารถสำเร็จเป็นเซียนได้ ตัวท่านเองก็
ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อตัวท่านนั้นมีภาระต่างๆ นาๆ ที่ต้องทำอยู่ องค์หลื่อต้งปินโจวซือก็เลยบอกกับท่านว่า แล้วซักวันท่านก็จะรู้เอง


จากวันนั้นมา องค์ฮ้อเซียงโกวก็ยังคงทำบุญใส่บาตร และ ช่วยเหลือผู้อื่นตลอดมาเรื่อยๆ จนมาวันหนึ่งพี่ชายของท่าน นั้นกลับมาจากการทำงาน กำลังหิวข้าวอย่างหนัก ท่านเห็น ดังนั้นก็รีบหุงข้าว และเทน้ำข้าวมาให้พี่ชายทานก่อน เนื่อง ด้วยคิดว่า พี่ชายกลับมาเหนื่อยๆ หากได้ดื่มน้ำข้าวก่อนจะ ได้รู้สึกดีขึ้น แล้วค่อยทำข้าวตามมาให้พี่ชายทานภายหลัง ทว่าพี่ชายของท่านไม่ได้คิดอย่างนั้น   เค้าคิดว่าท่านนั้นหุง


ข้าว แล้วเอาแต่น้ำข้าวมาให้เค้ากิน และจะเก็บข้าวที่หุงไว้นั้นไปใส่บาตร    ทั้งๆ ที่เค้าทำงานหนัก และเหนื่อยมาทั้งวัน แต่ กลับได้เพียงน้ำข้าว เพื่อทานเท่านั้น  พี่ชายท่านจึงเกิดบัลดาลโทสะ วิ่งไล่ตี องค์ฮ้อเซียงโกว ทันใดนั้นเอง องค์หลื่อต้งปิน โจวซือก็ได้มากระซิบกับองค์ฮ้อเซียงโกวว่า ให้ท่านวิ่งเข้าเตาไฟไป (เตาสมัยก่อนจะเป็นเตาขนาดใหญ่ ที่มีปล่องไฟออก มา) ท่านจึงวิ่งเข้าเตาไฟไป แต่แล้วท่านกลับลอยขึ้นมาออกทางปล่องไฟด้านบน จะลงก็ลงไปไม่ได้ องค์หลื่อต้งปินโจวซือ จึงได้มาบอกกับท่านว่า ท่านนั้นได้สำเร็จเป็นเซียนแล้ว ไม่ได้เป็นคนธรรมดาอีกต่อไป ให้องค์ฮ้อเซียงโกวนั้นออกตามท่าน ไปโปรดและช่วยเหลือมวลมนุษย์สืบต่อไป


เตียก๊วยเล่า

อักษรจีน: 张果老
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: เจียงกั๋วเล้า
ภาษาจีนกลาง: จางกว๋อหล่าว
(Zhāng Guǒ Lǎo)

ความหมายของชื่อ:

=
Zhāng อ่านว่า จาง
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน แปลว่า แผ่ขยายกว้างไกล
= Guǒ อ่านว่า กว๋อ
แปลว่า ผลไม้, ผลลัพธ์
=
Lǎo อ่านว่า หล่าว
แปลว่า แก่, เก่า, ชรา
 
 
เตียก๋วยเล่าโจวซือ เป็นเซียนองค์สุดท้ายลำดับที่แปดของโป๊ยเซียน เดิมแซ่เตีย ชื่อก้วย (果)  เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ณ หมู่บ้านเชิงเขาเงี้ยวซัว


รูปปั้นองค์เตียก๋วยเล่าโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

ขณะเยาว์วัย ได้รับการถ่ายทอดสูตรแห่งเทวะ จากผู้วิเศษ จึงใช้วิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมานั้น จารึกไปยังแดนต่างๆ ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ยากแก่มวลมนุษย์ มีอุปนิสัย ชอบนั่งลาหันหลังกลับ โดยหันหน้าไปทางหางลา ซึ่งในยุค สมัยนั้น ก็มีบัณฑิตคนหนึ่งที่ประชดบ้านเมือง โดยการขี่ลา หันหลัง เหมือนเป็นการบอกว่าบ้านเมืองนั้น สับสนวุ่นวาย จนคนงุนงงต้องขี่ลาหันหลัง


แต่แท้จริงแล้ว สาเหตุที่ท่านขี่ลาหันหลังกลับ เนื่องด้วยตัว ท่านเองคิดว่า ถ้าหากท่านขี่ลาหันไปข้างหน้า ท่านก็จะเห็น มวลมนุษย์มากมาย ที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งท่านไม่ สามารถที่จะทั้งหมดได้พร้อมๆกัน ท่านจึงเลือกที่จะนั่งลา หันหลังกลับ หากท่านมองไปที่บ้านหลังไหน ท่านก็จะไป ช่วย ณ บ้านหลังนั้น ท่านทำอย่างนี้มาตลอด จนชาวบ้าน ขนานนามท่านว่า “ผู้เฒ่านั่งลาหันหลังกลับ เป็นผู้ที่ช่วย เหลือมวลมนุษย์” และท่านก็บำเพ็ญเพียรมาเรื่อย จนบรรลุ สำเร็จเป็นเซียนในที่สุด



ขอขอบคุณ   http://peawyeangtai31.org/diaguailao.html

เทวอาจารย์เตียเฮี่ยงท้ง



เทวอาจารย์เตียเฮี่ยงท้ง

เทวอาจารย์เตียเฮี่ยงท้ง
 เทวอาจารย์เตียเฮี่ยงท้ง (อยู่ในรัชสมัยเจียจิ่งแห่งราชวงศ์หมิง ระหว่าง พ.ศ. 2064-2109) แซ่เตีย นามเฮี่ยงท้ง เคยรับราชการเป็นนายอำเภออยู่ ณ เมืองเก๋อ (ปัจจุบันคือลั้วหยาง) ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการที่เมืองหลวงในตำแหน่งปลัดกระทรวงพิธีการ ภายหลังเบื่อหน่ายโลกีย์วิสัย จึงได้หันมาศึกษาหลักธรรม โดยถือบวชเป็นนักพรต บำเพ็ญฌานภาวนาอยู่ ณ อารามไป่หยุน วันหนึ่งขณะปลีกวิเวกขึ้นเขาเพื่อไปปฏิบัติธรรม ระหว่างทางพบก้อนศิลาใหญ่มีอักษรจารึกไว้ ความว่า "เมฆขาวสิ้นอาสวะณ ที่แห่งนี้" พลันเห็นแจ้งในสัทธรรม จากนั้นมา เทวอาจารย์เตียเฮี่ยงท้ง จึงมีฉายาว่า ไป่หยุนเต้าเหฺริน (แปะฮุ้งเต่าเจี้ยง) หรือ นักพรตเมฆขาว


ขอขอบคุณ  http://www.tekkacheemukkhor.com/History_teaaengthong.php

พระอาจารย์โง้วมั่งอู้ซือจุง



พระอาจารย์โง้วมั่งอู้ซือจุง

พระอาจารย์โง้วมั่งอู้ซือจุง

นักบวชอู๋เมิ่งอู๋ (โง้วมั่งอู้) เป็นบุคคลสมัยราชวงศ์โจว เกิดในรัชกาลเซวียนจิ่ง ปีที่ ๕ เมื่อท่าน ๒๒ ปีได้เข้ารับราชการใน ตำแหน่ง   พออายุได้ ๒๘ ปี ได้เลื่อนยศเป็น ซือคง(ข้าราชการเทียบเท่าผู้อำนวยการกองในกระทรวงมหาดไทย) โดยควบตำแหน่งโตว ฉี เซ่อ(ข้าราชการทหาร) เมื่ออายุได้ ๓๔ ปี ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำการ ณ ด่านกวนซี ในตำแหน่ง เถ่า ลู่ ต้า เว่ย เจียง จวิน (ข้าราชการเทียบเท่านายพลทหารบก ตำแหน่งปราบหู่ลู่ หู่ลู่เป็นชื่อชนชาวตาร์ อาศัยอยู่ทางเหนือของจีนสมัยโบราณ) ครั้นอายุได้ ๔๙ ปี ฮ่องเต้ทรงมีรับสั่งให้กลับสู่เมืองหลวง และทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้า ซือ ถู (ขุนนางเทียบเท่าอุปราช) พร้อมกันนั้นทรงให้ท่านรับหน้าที่เป็น “พฤฒาจารย์ผู้สอนราชโอรส” อีกด้วย จนถึงอายุ ๕๗ ปี ยุพราชขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากฮ่องเต้พระองค์เดิม ในฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์ผู้ถวายการสอนอักษรมาก่อน ฮ่องเต้พระองค์ใหม่จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่ง หู้ กั๋ว ไท้ จั่ว เฉิง (ขุนนางเทียบเท่าอัครเสนาบดีฝ่านซ้าย) ทั้งยังประราชทานให้เป็น เทียน เสี้ย โตว ฉี เซ่อ เจียง จวิน (แม่ทัพใหญ่) และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านก็รับราชการประจำอยู่ในเมืองหลวง จวบจนอายุได้ ๖๒ ปี ได้พานพบคัมภีร์หวงถิงจิงของเหลาจื่อ จึงใช้เวลาในยามว่างหมั่นศึกษาค้นคว้าหลักความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายอัน ลึกซึ้งของคัมภีร์ดังกล่าว ท่านได้ตั้งมั่นที่จะขัดเกลากิเลสนิสสัยส่วนตัวอยู่เสมอ ตราบเมื่อท่านอายุได้ ๖๘ ปี ถึงคราวที่แผ่นดินโจวผลัดเปลี่ยนรัชกาลอีกครั้ง แต่ท่านก็ยังคงได้รับมอบหมายให้ค้ำชูราชบัลลังค์และฮ่องเต้พระองค์ใหม่ รวมถึงการดูแลราชภารกิจที่สำคัญบางอย่างด้วย จนอายุได้ ๗๐ ปี จึงกราบทูลลาออกจากราชการกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม กาลต่อมาได้ออกบวชเป็นนักพรตอยู่ ณ อารามชิงหยางกวน ณ ที่นั้น พระคุณเจ้า ฉานคง ได้ให้การชี้แนะจนท่านได้เรียนรู้หลักวิธีการนั่งวิปัสสนา ต่อมาในเดือน ๘ ปีเดียวกัน ท่านได้ปรงผมออกบรรพชาเป็นพระภิกษุ ฉายาว่า นักพรตคงคง (หมายถึงผู้เข้าถึงความว่างเปล่า) และต่อมาท่านก็ถึงกาลกิริยาเมื่ออายุได้ ๘๘ ปี


ขอขอบคุณ   http://www.tekkacheemukkhor.com/History_jowmonghoo.php

พระอาจารย์หลิวชุนฮวงซือจุง


พระอาจารย์หลิวชุนฮวงซือจุง

พระอาจารย์หลิวชุนฮวงซือจุง


 พฤฒาจารย์หลิวชุนฟง (หลิวชุนฮวง) เป็นบุคคลในสมัยราชวงศ์ถัง ในวัยหนุ่ม ท่านมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนมาก จนมีความเชี่ยวชาญในตันติวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ปีศักราชเทียนเป่า แห่งพระจักรพรรดิถังเสฺวียนจง ( พ.ศ. ๑๒๘๕-๑๒๙๙ ) ท่านสอบไล่ได้เป็นจิ้นสือ กลางรัชสมัยเจินหยวน ได้รับราชการในตำแหน่งผิงเจียงซื่อ ครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้แห่งแผ่นดินถัง ทรงมีพระราชดำริจะทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับชนเผ่าทู่ฟาน(ชนเผ่าหนึ่งใน ทิเบต)หากท่านกลับเห็นว่า โดยแท้นั้นชนเผ่าทู่ฟานเป็นคนป่าเถื่อนจึงยากจะหาสัจจะใดๆได้ ทั้งนี้ การคิดจะผูกมิตรด้วยจึงหาควรไม่ ท่านจึงได้กราบทูลเสนอต่อฮ่องเต้ว่า ควรจะใช้แสนยานุภาพเข้าปราบปราม ฮ่องเต้มิทรงรับฟัง ผลที่สุดจึงถูกพวกทู่ฟานก่อการผิดสัญญาในเวลาต่อมา ฮ่องเต้ทรงเห็นว่าท่านอาจารย์มีความสามารถในการบ้านเมือง ทั้งยังเข้าใจยุทธวิธีในการปกครองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจงซูหลิง ทั้งยังทรงให้เป็นราชครูอีกด้วย นี้เองกระมังที่เป็นเหตุให้ท่านได้ใช้หลักคุณธรรมและศีลธรรมอบรมสั่งสอนข้า ราชบริภารในราชสำนัก ยังผลให้บุคคลเหล่านั้นได้เข้าถึงซึ่งหลักคุณธรรมอันประเสริฐ 4 ประการ คือ อริยะ ธรรมะ สุทธะ และโอตตัปปะ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของมนุษย์ หากที่สำคัญ ท่านยังมุ่งนิพนธ์สรรพตำราทางธรรมอีกด้วย กระนั้นก็ตาม ท่านก็ยังรู้สึกเสียดายที่ไม่อาจแสวงหาอาจารย์ผู้มีความสามารถ เพื่อขอให้ท่านนั้นๆได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาต่างๆแก่ตน ตราบจนอายุได้ ๗๒ ปี ท่านจึงดำริจะลาออกจากราชการไปใช้ชีวิตอย่างสมถะ

 เพื่อจะได้มีเวลาสงบจิตบำเพ็ญธรรม ในคืนวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ ในปีเดียวกัน ได้ปรากฎอัศจรรย์นิมิต บังเกิดเมฆเบญจสีขึ้น ณ บริเวณข้างกำแพงพระราชอุทยานเจาหยาง พร้อมกับแว่วเสียงขานเรียกชื่อของท่าน พลันท่านสำนึกได้ทันทีว่ามีผู้วิเศษมาเยือน จึงคุกเข่าลงคำนับและนมัสการถามไถ่ จึงได้ประจักษ์ชัดว่า ที่แท้คือท่านปรมาจารย์ ลือ ซุ่น เอี้ยง ได้มาโปรดแล้ว ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจลาออกจากราชการ และด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ ท่านได้มุ่งสู่วิเวกสถานเพื่อปฏิบัติธรรมและขัดเกลากิเลสนิสสัย หลังจากนั้นไม่นานท่านก็สละโลกีย์ไปบำเพ็ญศีลอยู่ ณ อารามหยวนฮั่วซื่อ บนภูจื่อหยางซาน ในแต่ละวันท่านมีเพียงนกกระยางเป็นเพื่อน ทั้งท่านปรมาจารย์ ลือ ซุ่ง เอี้ยง ก็เสด็จมาประทานชี้แนะ ตลอดจนวิธีการและหลักทฤษฎีอันวิเศษลึกซึ้ง รวมทั้งเพิ่มพลังอิทธิฤิทธิ์บารมีให้อยู่เสมอ ในกลางวันท่านจะพากเพียรศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ส่วนกลางคืนท่านจะขึ้นไปฝึกพลังลมปราณบนยอดเขา เป็นเช่นนี้ติดต่อกันจนประจักษ์ชัดในความเข้าใจอันสมบูรณ์แห่งสภาวะจิตและ บรรลุธรรมในที่สุด จึงได้ขนานนามตัวเองว่า “เฒ่าผู้ท่องภูเขาและทะเลสาป”(หู ซาน ซ่าน โส่ว)

ขอขอบคุณ     http://www.tekkacheemukkhor.com/History_hlewchunhawong.php

พระอาจารย์เอี๊ยอุ้งซ้งซือจุง



พระอาจารย์เอี๊ยอุ้งซ้งซือจุง


พระอาจารย์เอี๊ยอุ้งซ้งซือจุง


 พฤฒาจารย์หยางอวิ๋นซง ( เอี้ยอุ้งซ้ง ) ถือกำเนิดในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นชาวโต้วโจว นามอี้ ฉายาซูเม้า สติปัญญาหลักแหลม เชี่ยวชาญในสรรพวิทยาการ ในรัชสมัยซวีจง(ระหว่างปี พ.ศ.๑๔๑๗ – ๑๔๓๑)ได้รับตำแหน่งเป็นราชครูในบรรดาศักดิ์จินจื่อกวงลู่ไต้ฟู ผู้มีหน้าที่ดูแลและรับสนองราชภารกิจด้านภูมิทัศน์ศาสตร์ ( ฮวงจุ้ย ) ในราชสำนัก จวบจนเกิดกบฏขึ้นในราชสำนัก ท่านจึงลาออกจากราชการ ปลีกวิเวกสู่เขาคุนหลุน เพื่อแสวงหาความสงบ ต่อมาเดินทางสู่เฉยียนโจว นำความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาฮวงจุ้ยช่วยเหลือผู้คน จนได้รับสมญานามว่า     “ ซินแสผู้ช่วยเหลือคนยาก ” ตำรับตำราเกี่ยวกับหลักวิชาฮวงจุ้ยที่ท่านนิพนธ์นั้น ที่สำคัญได้แก่ คัมภีร์หยีหลงจิง , คัมภีร์ฮั่นหลงจิง , บทนิพนธ์ลี่จุยฝู่ , คัมภีร์มู่หนังจิง ซึ่งยังสืบปรากฏมาจนทุกวันนี้



ขอขอบคุณ   http://www.tekkacheemukkhor.com/History_eaoongsong.php

พระอาจารย์ซ่งไต้ฮงโจวซือ



 
พระอาจารย์ซ่งไต้ฮงโจวซือ


พระอาจารย์ซ่งไต้ฮงโจวซือ


  พระมหาเถระไต้ฮง (ต้าเฟิง) นามเดิมว่าหลิงเอ๋อ เกิดในสกุลหลิน ถือกำเนิดในสมัยราชวงศ์ซ้ง เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๘๒ ตรงกับปีที่ ๒ แห่งรัชสมัยเป่าหยวน เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาจนสอบเข้ารับราชการได้ในระดับจิ้นสือ หากภายหลังออกบวชถือเพศบรรพชิต ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๖๓๓ ตรงกับปีที่ ๒ แห่งรัชสมัยเซวียนเหอ ได้ธุดงค์จาริกจากมณฑลฝูเจี้ยนมายังหมู่บ้านซีหนานเหอผิงหลี่ อำเภอเฉาหยาง มณฑลกวางตุ้ง โดยจำวัดอยู่ที่อารามหลิงเฉวียนซื่อ ที่หมู่บ้าน ซีหนานเหอผิงหลี่ แห่งนี้มีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่าน (ปัจจุบันเรียกแม่น้ำเลี่ยงเจียง) กระแสน้ำเชี่ยวกราก เรือและผู้คนที่สัญจรล่องน้ำไปมามักประสบภัยสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน พระมหาเถระไต้ฮงบังเกิดเมตตากรุณาจิต ตั้งปณิธานหมายสร้างสะพานทอดข้ามแม่น้ำนี้ เพื่อให้ชาวบ้านใช้ข้ามฝั่งสัญจรไปมาได้โดยสะดวก เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความลำบากเดือดร้อน จึงออกธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อเรี่ยไรบอกบุญจากศรัทธาสาธุชน ตราบจนปี พ.ศ. ๑๖๗๐ ตรงกับปีที่ ๑ แห่งรัชสมัยเจี่ยเอยี่ยง จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างสะพานเหอผิงจนแล้วเสร็จเป็นประโยชน์แก่ชุมชน นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มประกอบกิจสาธารณกุศลด้านการเก็บศพไร้ญาติ โดยนำไปฝากฝังตามสุสานเพื่อมิให้เป็นที่เวทนาอาดูร ต่อมาภายหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว ชาวบ้านต่างหวนรำลึกนึกถึงคุณูปการที่ท่านได้บำเพ็ญไว้เป็นอเนกประการ จึงพากันสร้างศาลปอเต็กตึ๊ง (เป้าเต๋อถาง) ซึ่งมีความหมายว่า คุณธรรมานุสรณ์สถาน แล้วดำเนินกุศลกิจสืบต่อปณิธานของท่านจวบมาจนถึงปัจจุบัน


ขอขอบคุณ  :  http://www.tekkacheemukkhor.com/History_songtaihongjosue.php

พระสังกระจาย (พระมหากัจจายนะ)




พระสังกระจาย (พระมหากัจจายนะ)

พระสังกระจาย (พระมหากัจจายนะ)

พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต (ที่ปรึกษา) ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า “กัญจนะ” เพราะมีรูปร่างลักษณะงาม สง่า มีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้เรียนจบไตรเพท คือ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา พราหมณ์ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา

    เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวจาริกประกาศหลักธรรมคำสอนตามคามนิคม ชนบทอยู่นั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต มีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จสู่ กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ปุโรหิจกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือ โอกาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อเดินทางไปถึงก็รับเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนา ให้ ฟังและเท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธ องค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปนา เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ได้กราบทูล อาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางมา แต่พระ บรมศาสดารับสั่งให้ท่านไปเองพระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองก็จะเกิดศรัทธาเหมือนกัน พระมหากัจจายนะ จึงกราบทูลลาพระบรมศาสดาพาภิกษุบริวารอีก ๗ องค์นั้น เดินทาง กลับสู่กรุงอุชเชนี ประกาศหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาว เมืองได้สดับรับฟัง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่กระจายทั่วกรุงอุชเชนีแล้ว ท่านก็ได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก

พระเถระแปลงร่าง
    ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่าพระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้มีรูปร่างสง่างามผิวเหลือง ดุจทองคำสะอาดผ่องใจ เป็นที่ต้องตาถูกใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป จนกระทั่งมีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้น แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่า โสเรยยะ เหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยาน พาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระเถระกำลังยืนห่มจีวร เพื่อ เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดความพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า “งามจริงหนอ พระเถระ รูปนี้ น่าจะเป็นภริยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภริยาของเรามีสีผิวกายเหมือนพระเถระนี้” ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่าง ทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียน พ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา และได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น อยู่ร่วมกันจนมีบุตร ๒ คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมือง โสเรยยะนั้น เขาก็มีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียว กัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและแม่ หรือเป็นทั้งผัวและเมียในชาติเดียวกันนี้ ต่อมา พระมหากัจจายนเถระ จาริกมายังเมืองตักสิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราว ของตนที่ผ่านมาให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดย ตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธา เลื่อมใสในพระเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัต ภาพเดียวเท่านั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้ บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในกาลต่อมา พระมหากัจจายนะ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยยะแล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า “พระบรมศาสดาของพวกเรา เสด็จมาแล้ว” แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปลักษณ์ละม้ายกับพระผู้มีพระภาคนั้นเอง พระเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตรร่างกายของท่านให้เปลี่ยน แปลงผิดแปลกไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อ ต่ำเตี้ย ท้องป่อง หมดความสวยงามดังที่ พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการบูชาในทุกวันนี้

ได้รับยกย่องในทางอธิบายความย่อให้พิศดาร
    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหาร ที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้โดยย่อให้เข้าใจ ได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ ฟัง พระเถระได้อธิบายขยายความย่อให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะ ทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่าง นั้นเถิด” พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะ อธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ พระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มี ปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอ จงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด”

อีกเรื่องราว
    พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ ที่ ชาวพุทธทั่วไปมักเรียกเพี้ยนไปเป็น พระสังข์กระจาย นั้น แท้ที่จริงก็คือ พระมหาสังกัจจายนเถระ หรือ พระมหากัจจายนะ เถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในครั้งพุทธกาล พระสังกัจจายน์ ที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน เป็นภาพหรือรูปปั้นที่อ้วน พุงพลุ้ย ใบหน้าอิ่มเอิบ ยิ้มร่าอย่างมีเมตตา เป็นการแสดงถึงการมีโชค มีลาภ มีเมตตามหานิยมแก่ผู้สักการะบูชา แต่ก่อนที่จะมามีรูปลักษณ์อย่างนี้ พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ผิวพรรณผุดผ่อง ดุจทองคำ จนเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่คนทั่วไป ไม่ว่าชาย หรือหญิง เรียกว่าใคร ๆ ก็อยากเห็น อยากพบ อยากทำบุญด้วย เป็นเมตตามหานิยมที่เกิดขึ้นจากตัวท่านเอง จนสตรีเพศทั้งหลายต่างก็พากันหลงใหล ไปอยู่ที่ไหนก็มีสตรีหลายคนมาคอยเฝ้าดู เฝ้าชมกันอย่างไม่ลุกไปไหน จนเป็นการขัดขวาง การปฏิบัติสมณธรรม ท่านจึงไปทูลขออนุญาตจากพระพุทธองค์ เพื่อขอแปลงกาย ไม่ให้หล่อเหลางดงาม ซึ่งก็ทรงมีพุทธอนุญาตให้เป็นไปตามที่ขอพระสังกัจจายน์ จึงใช้ฤทธิ์อภิญญาของท่านแปลงกายให้อ้วนพุงพลุ้ย จนถึงต้องเอามืออุ้มไว้ เพราะมันใหญ่มาก แต่ใบหน้าก็ยังอวบอิ่มยิ้มร่าด้วยเมตตาบารมีแห่งความมีโชค มีลาภ ก็หมดปัญหาไป สำหรับการหลงใหล ในรูปร่างหน้าตา แต่ผู้คนก็ยังติดใจในเมตตาบารมีของท่านก็ยังทำบุญกับท่านอยู่เสมอ เปรียบได้กับ พระสีวลี ซึ่งเป็นพระอรหันต์แห่งโชคลาภ ก็ว่าได้ในเวลาที่หมู่สงฆ์จะต้องเดินทางจาริกไปทีละมาก ๆ หาก พระสีวลี ไม่สามารถที่จะเดินทางไปด้วยได้ หรือไม่อยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกให้ พระสังกัจจายน์ ไปด้วย เพื่อว่าหมู่สงฆ์จะได้ไม่ติดขัดเรื่องบิณฑบาตร ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น จริง ๆ อาหารบิณฑบาตร ก็จะเหลือเฟือไม่ขาดแคลน ถึงแม้ว่าหนทางนั้นจะมีหมู่บ้าน และผู้คนไม่มากนักก็ตาม เมื่อพระสีวลีไม่อยู่ แต่มี พระสังกัจจายน์ มา ก็เหมือนกับมี พระสีวลีอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครสงสัย เมื่อเห็นรูปปั้นท่านประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ก็มักไปบูชาขอโชค ขอลาภกันอยู่เสมอ แล้วก็นำองค์ท่านเล็ก ๆ ไปบูชาที่บ้าน ที่ร้านค้า บริษัท เพื่อกิจการค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จะได้ก้าวหน้า เจริญเติบโต ด้วยบารมีของท่าน และผู้บูชาสักการะเอง

บุตรเศรษฐี
     มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีหนึ่งขื่อ “โสเรยยะ” มีบ้านเรือนพักอาศัยอยู่ใน โสเรยยนคร วันหนึ่งได้เห็น พระสังกัจจายน์เข้า ก็ตื่นตาตื่นใจ เพราะความรูปงามของท่านจึงคิดอกุศลกำหนดให้ท่านเป็นหญิง แล้วลวนลามทางจิตที่คึกคะนอง ด้วยจิตทีคิดพิเรนทร์ต่อพระอรหันต์เจ้า บุตรเศรษฐีโสเรยยะที่เป็นเพศชาย ก็กลับกลายเป็นเพศหญิง มีอวัยวะของสตรีครบสมบูรณ์ประหนึ่งหญิงแท้ ๆ ด้วยความอับอาย บุตรเศรษฐีโสเรยยะ จึงหนีไปอยุ่เมืองอื่น จนได้สามีและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาภายหลังได้กลับมาขอขมาท่าน จึงได้กลับเป็น ชายอย่างเดิม เรื่องราวดูน่าเหลือเชื่อ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้ ก็ล้วนเหลือเชื่อทั้งนั้น

ย้อนดูประวัติ
     ย้อนกลับไปดูเรื่องราวประวัติตั้งแต่ต้นของท่านสักนิด แต่เดิมนั้นท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท ครั้งบิดาเสียชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดากาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า ได้บังเกิดพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จเที่ยวโปรดสั่งสอนประชาชน ธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ แก่ผู้ประพฤติปฎิบัติตาม มีพระราชประสงค์จะใคร่เชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา ไปประกาศพระศาสนาที่ กรุงอุชเชนี จึงสั่ง กัจจายนะปุโรหิต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพท ไปทูลเชิญเสด็จ เมื่อมีโองการสั่งเช่นนั้น ท่านกัจจายนะปุโรหิต ซึ่งมีความศรัทธาอยู่ก็ถือโอกาสทูลลาบวชด้วย ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนี พร้อมด้วยบริวาร 7 คน รอนแรมมาถึงยังที่ประทับพระบรมศาสดา ก็พากันเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอน ในที่สุดทั้ง ท่านกัจจายนะ และบริวารทั้ง 7 ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จโปรด ชาวอุชเชนี ตามประสงค์ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดารับสั่งว่า ท่านไปเองเถิด เมื่อไปแล้ว พระจัณฑปัชโชต และชาวเมืองจะเลื่อมใส ด้วยเหตุนี้ พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ จึงถวายบังคมลาเดินทางกลับ กรุงอุชเชนี ประการพระพุทธศาสนาให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองเลื่อมใส แล้วกลับคืนมายังสำนักพระบรมศาสดาเป็นผู้เลิศ พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความที่ย่อให้พิสดาร เช่นครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร แต่โดยย่อท่ามกลางสงฆ์ โดยแสดงธรรมว่า“ผู้มีปัญญาไม่ควรคิดตาม คิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้งรู้ธรรมนั้นแล้วพึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบ ระงับย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีราตรีเดียว"ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกไปสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสที่จะทูลถาม ความที่พระองค์ตรัสโดยย่อ นั้นให้กว้างขวางได้ จึงอาราธนาขอให้ พระสังกัจจายนะอธิบายให้ฟังท่านอธิบายความว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้นตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลล่วงแล้วตากับรูปหูกับเสียงจมูกกับกลิ่นลิ้นกับรสกายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกายใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามี แล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณ อันความกำหนัดพอใจ ผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วไม่คิดอย่างนั้นความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้านัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจะเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า มุ่งหมาย สิ่งที่ยังมาไม่ถึงบุคคลไม่ได้ตั้งจิตเพื่อจะหมายสิ่งใด สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วนัยน์ตากับรูปอย่างละสอง อันใด เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณไว้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดเฉพาะหน้าถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้เชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าท่านผู้มีอายุเราเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อตามความ พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลาย ประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร จงจำไว้อย่างนั้นเถิด ภิกษุเหล่านั้น ลาพระมหากัจจายนะกลับเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสสรรเสริญ พระมหากัจจายนะ ว่า“ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา ถ้าท่านถามความนั้นกับเรา แม้เราก็คงเล่าเหมือน กัจจายนะ เล่าอย่างนั้น ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น อย่างนั้นแล ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด” ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับ การยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้อธิบายความย่อให้พิสดารด้วยความใส่ใจพระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นผู้ที่เอาใจใส่ สนใจในการพระศาสนามากองค์หนึ่ง ธรรมวินัยใด ที่ขัดต่อภูมิประเทศ ไม่สะดวกที่สงฆ์จะปฏิบัติตามได้โดยลำบากแล้ว ท่านก็จะทูลชี้แจง ขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขให้เหมาะสม ให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอเช่นครั้งหนึ่งท่านไปพำนักหาวิเวกอยู่ ณ ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุธฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฎฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีความประสงค์จะบวชในธรรมวินัย แต่ก็ยังบวชไม่ได้ เพียงแต่บรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น เวลาล่วงไปถึง 3 ปี จึงมีโอกาสอุปสมบทได้ เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้น หาภิกษุเป็นคณะครบองค์ไม่ได้ (10 รูปขึ้นไป)

    เมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะอุปสมบทแล้ว มีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลา พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ผู้อุปัชฌาย์ ท่านอนุญาตแล้ว สั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของท่าน โดยให้พระองค์ ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ซึ่งขัดต่ออวันตีชนบท 5 ข้อ ด้วยกันคือ

ในอวันตีทักขิณาปถชนบทมีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะน้อยกว่า 10 รูป ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้เหลือเพียง 5 รูป สำหรับชนบทชายแดนทั่วไป
เนื่องด้วยมีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ไม่สะดวกต่อการเดินทาง พระภิกษุในชนบทได้รับความลำบากมากนัก ขอพุทธานุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าเป็นชั้น ๆ ในชนบทชายแดนได้ พระองค์ก็ทรงอนุญาต
พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขออนุญาตพระภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์เถิด พระองค์ก็ทรงอนุญาติ
ในชนบทนั้นมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแพะ หนังแกะบริบูรณ์ดีในชนบทหาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น ขอให้ภิกษุใช้หนังแพะ หนังแกะเป็นเครื่องลาดได้ในชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตตามนั้น
ในการที่มนุษย์ถวายผ้าจีวรแก่ภิกษุก็เช่นกัน เมื่อภิกษุไม่อยู่เขามาถวายฝากไว้ เมื่อเธอกลับมา ภิกษุที่ รับฝากไว้แจ้งให้เธอทราบ เธอรังเกียจไม่ยินดีรับ เพราะล่วง 10 ราตรีแล้ว เข้าใจว่าเป็นอาบัตินิสสัคคิยะ จำต้องสละผ้านั้น เป็นการลำบากสำหรับชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตว่า เราอนุญาต ให้พระภิกษุรับผ้าที่เขาถวายลับหลังได้ ผ้ายังไม่ถึงมือเธอเมื่อใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น
    อันนี้ก็เป็นความเอาใจใส่ดูแลพระพุทธศาสนาของท่าน โดยไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กน้อยผ่านไปวรรณะใดเลิศ เมื่อครั้ง พระสังกัจจายน์หรือพระมหากัจจายนะ อยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เสด็จไปหา แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระกัจจายนะ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ถือว่า พวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร

พระสังกัจจายน์หรือ พระมหากัจจายนะ ทูลตอบว่า วรรณะสี่เหล่าไม่ต่างกันดังนี้
ในวรรณะ 4 เหล่านี้ วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง ไม่ว่าวรรณะเดียวกันหรือวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรรณะนั้น
วรรณะใดประพฤติ อกุศลกรรมบท เบี้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่ อบาย เสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ
วรรณะใดประพฤติ กุศลกรรมบท เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันหมด
วรรณะใดทำ โจรกรรม ประพฤติล่วงเมียคนอื่น วรรณะนั้นต้องรับ อาชญา เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
วรรณะใด ออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับ ความนับถือ และได้รับ บำรุง
และได้รับ คุ้มครองรักษาเสมอ กันหมดฯ
    ครั้งพระเจ้ามธุรราช ได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถระเจ้า กับ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ พระเถระทูลห้ามว่า อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะ ของอาตมาภาพ เป็นสรณะเถิดพระเจ้ามธุรราช ตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ท่านทูลว่า พระผู้มีพระภาพเจ้า ปรินิพพานเสียแล้ว พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ที่ใด แม้ใกล้ไกลเท่าใด พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ แต่เมื่อพระผู้มีพระภาพเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ ขอถือพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้วกับ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งข้อนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขาร อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ปรินิพพานฯ

สุดท้าย
    พระมหากัจจายนะนี้ ทางฝ่ายมหายานเขาถือไปอีกอย่าง คือถือว่าท่านยังเป็นพระโพธิสัตย์อยู่ จะได้มาตรัสรู้ เป็นพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคต ซึ่งฟังดูไม่แน่ใจนัก เพราะทางฝ่ายเถรวาท เราถือว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว สิ้นจากอัตภาพนี้ไป ก็เข้าสู่ปรินิพพาน แต่โดยทั่วไปต่างถือกันว่าท่านมี บารมีทางโชคลาภ มีรูปปั้นท่านประดิษฐานอยู่ที่ใด ผู้คนมักไปบูชาขอโชคขอลาภกัน


ขอขอบคุณ  http://www.tekkacheemukkhor.com/History_sangkajai.php