วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

องค์ไท้เสียงเล่ากุง หรือ เล่าจื้อ



องค์ไท้เสียงเล่ากุง หรือ เล่าจื้อ


ปรมาจารย์เต๋า 
     ผู้รอบรู้สภาวะเต๋า ไม่มีในมี มีในไม่มี เป็นต้นกำเนิดของปรัชญาด้วยหลักความเป็นธรรมชาติ เป็นที่มาแห่งรากฐานของวิชาฮวงจุ้ย
     องค์ไท้เสียงเล่ากุง หรือ เล่าจื้อ (Lao tze) เป็นศาสดาของศาสนาเต๋า ซึ่งได้หล่อหลอมวิถีแห่งชีวิตและอัธยาศัยชาวจีนกว่า 2000 ปีมาแล้วท่าน "เล่าจื้อ" มีชีวประวัติไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานความเป็นมาของท่านจากบันทึก "ซื่อกี่" ซึ่งเป็นบันทึกที่รวบรวมโดยซิหม่าเชียง นักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่น แม้ว่าบันทึกนี้ จะมีบางตอนที่ขัดแย้ง ทำให้เกิดความคลุมเครือก็ตาม แต่อาจจะสรุปได้ว่า ท่านเล่าจื๊อเกิดในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เป็นชาวแคว้นฉู่? Ku ซึ่งในปัจจุบันอยู่บริเวณแถบมณฑล Henan อำเภอหูเสี้ยน ตำบลหลี หมู่บ้าน ชีเหยินลี บางตำนานกล่าวไว้ว่า ท่านเล่าจื๊อเมื่อเกิดมามีผมสีขาว และอยู่ในครรภ์มารดานานถึง 8 หรือ 80 ปี ชื่อเดิมของท่านคือ "ยื้อ แซ่ลี้" ส่วนชื่อเล่าจื๊อ เป็นเพียงฉายาที่นิยมเรียกกัน แปลโดยนัยได้ 2 แบบว่า "อาจารย์ผู้อาวุโส" หรือ "เด็กผู้อาวุโส" เมื่อวันที่ 15 เดือนยี่ ก่อนค.ศ.ราว 576 ปี (ก่อนพ.ศ. 33 ปี) จากพงศาวดารของซือหม่าเซียน (Sima Qian) กล่าวว่า เล่าจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื๊อ แต่อยู่ในยุคสมัยเดียวกันและเคยได้พบปะสานเสวนากัน เล่า จื๊อได้รับราชการในราชสำนักราชวงศ์โจว โดยดำรงตำแหน่งเป็นบรรณารักษ์ใหญ่แห่งหอพระสมุด ต่อมาขงจื๊อและเล่าจื๊อได้มาพบเจอกันโดยบังเอิญในแคว้น Zhou (ปัจจุบันคือแถบเมืองลั่วหยาง) โดยขงจื๊อได้มาค้นหาตำราในห้องสมุด จากเรื่องเล่านี้ ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทรรศนะคติความเห็นในหลายๆ ด้าน เป็นเวลาหลายเดือน ภายหลังจากการเสวนาในครั้งนี้ ขงจื๊อกล่าวว่า "การได้เสวนากับท่านเล่าจื๊อ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ล้ำลึก และดีเยี่ยมกว่าหนังสือในห้องสมุดเสียอีก" 



เล่าจื้อ ไม่ชอบชีวิตหรูหรา ต่อมาได้เห็นความเสื่อมโทรมของราชวงศ์โจว ด้วยเหตุนี้ท่านจึงลาออกจากราชการ ขับเกวียนเทียมวัวดำสองตัวมุ่งไปยังภูเขาด้านทิศตะวันตก (ทิเบต) จาริกไปถึงด่านแห่งหนึ่ง เมื่อไปถึงประตูเมืองนายประตูจำได้ จึงขอร้องให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนปรัชญาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำราที่โด่งดังของท่านเป็นอักษรจีน 5,500 ตัว จากนั้นได้เดินทางต่อไป ปรากฏว่าพอถึงช่องแดนระหว่างภูเขา ท่านก็หายเข้าไปในก้อนเมฆ อะไรได้เกิดขึ้นก็ตามทีเถิด ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครเห็นท่านอีกเลยคัมภีร์ที่เล่าจื้อเขียนนี้ มีชื่อว่า เต๋า - เต๋อ - จิง (Tao - the - jing) หรือ เต๋าเต็กเก็ง แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรคและอำนาจ เล่าจื้อเริ่มต้นด้วยการตอบปัญหาที่ว่า "อะไรคือแก่นของเอกภพ" "ถ้าเราสามารถมองไปเบื้องหลังปรากฏการณ์ของสิ่งทั้งหลายได้ และพบลักษณะการที่ชีวิตเกิดขึ้นแล้ว เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร?" เล่าจื้อ อธิบายว่า คำตอบมีอยู่พร้อมแล้วในว่า "เต๋า" คำนี้แปลกันมาว่า "ทาง" "มรรค" หรือ "แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง" และเป็นการยากที่จะให้ความหมาย เพราะคำๆ นี้ให้คำจำกัดความไม่ได้ แก่นแท้ของเต๋าลึกลับกว่าความลึกลับใดๆ แต่ว่าก็มีบางสิ่งบางอย่างที่พอจะสังเกตได้  




ขอขอบคุณ :  http://lokutarathum.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น