วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โป๊ยเซียนโจวซือ




โป๊ยเซียนโจวซือ

 ลี้ทิไกว้



อักษรจีน: 李鐵拐 / 李铁拐
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ทิก๋วยลี้
ภาษาจีนกลาง: หลี่เถียไกว่ 
(Lǐ Tiě Guǎi)

ความหมายของชื่อ:

=
Lǐ อ่านว่า หลี่  
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน ทั้งยังเป็น ชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีผลกินได้ ฝรั่งเรียกว่า "plum" มีรสชาติหวาน อมเปรี้ยว
=
Tiě อ่านว่า เถี่ย
แปลว่า เหล็ก

= Guǎi อ่านว่า ไกว่
แปลว่า ไม้ค้ำ, ไม้เท้า
 
   

ลี้ทิไกว้โจวซือ เป็นเซียนองค์ที่หนึ่งของโป๊ยเซียน โดยได้ชื่อว่า เป็นเซียนแห่งยาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  “เถียไกว่” หรือ “ทิไกว้” เป็นฉายาของท่าน หมายถึง "ไม้เท้าเหล็ก"  ซึ่งมาจากลักษณะของท่าน ที่มีขาข้างหนึ่งพิการ และต้องใช้ ไม้เท้าเหล็กคอยค้ำพยุงเวลาเดิน จึงกลายเป็นที่มาของคำเรียกขานว่า “หลี่ไม้เท้าเหล็ก” หรือ “หลี่เถียไกว่”


ลี้ทิไกว้โจวซือ เดิมแซ่ลี้ (จีนกลาง: หลี่) ชื่อง้วน (จีนกลาง: เหียน) เป็นชาวแคว้นสู่ (蜀 : ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลเสฉวน) เกิดในสมัยราชวงศ์จิว  เดิมทีนั้น องค์ลี้ทิไกว้โจวซือถือได้ว่าเป็นเป็นชายหนุ่มรูปงามคนหนึ่ง ที่มีความรู้ สติปัญญาเฉลียว ฉลาด ว่องไว ท่านเป็นคนอิสระ รักความสงบวิเวก มีใจฝักใฝ่ในการถือศีลกินเจ ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญเพียร ภาวนา สมาธิ เป็นนิจ มุ่งแสวงหาทางบรรลุมรรคผล ด้วยการออกบำเพ็ญเพียรในถ้ำลึกกลางป่า ท่านเพียรสมาธิภาวนาด้วยความแน่วแน่ อยู่หลายปี แต่ก็ยังไม่บรรลุผลอย่างไร จึงมาหวนคิดว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะท่านขาดผู้เป็นอาจารย์ที่จะอบรม แนะนำสั่งสอน เมื่อคิดได้ดังนั้น ท่านจึงออกเดินทางมุ่งตรงไปยังเขาเล่งห่วยหวย อันเป็นสำนักของท่านลีเหล่ากุน (องค์ไท้เสียงเหล่ากุง) อันเป็นหนทางทุรกันดารยิ่งได้ บุกป่าข้ามเขาข้ามห้วยลูกแล้วลูกเล่า ด้วยความเหน็ดเหนื่อยยาก ลำบากเป็นเวลาแรมเดือน จึงบรรลุเป้าหมาย แลขึ้นไปเห็นยอดเขาสูงเทียมเมฆ ทอดเทือกยาวสุดที่จะประมาณได้ แน่น ขนัดไปด้วยป่าสนที่สูงลิ่ว และมีลำต้นใหญ่มหึมา คะเนอายุน่าจะเป็นร้อยๆ พันๆปี ณ เวลาอาทิตย์อัสดง หมู่เมฆเคลื่อน ลอยเลื่อนละไปตามไหล่เขาและยอดเขา แปรเปลี่ยนสีสลับเลื่อมพรายน่าดูยิ่งนัก ทั้งยังเสียงนกสกุณชาติใหญ่น้อยที่โผผิน บินเกาะไปมา ก็ส่งเสียงร้องประสานขานขันอย่างไพเราะรื่นรมย์ใจ หลี่เหียนจึงได้หยุดพัก นั่งชมนก และหมู่ไม้อย่าง เพลิดเพลินจนมืดค่ำ จึงได้เดินตรงไปยังประตูถ้ำ ยกมือขึ้นหมายจะเคาะเรียก แต่ก็ฉุกคิดได้ว่าขณะนี้เป็นเวลาค่ำมืดแล้ว ใช่กาลที่จะเข้าไปรบกวน ทำลายความสงบของท่านผู้วิเศษ ทั้งยังดูเป็นการไม่ให้ความเคารพอีกด้วย ท่านจึงตัดสินใจนอน ค้างแรมตามพุ่มไม้แถวนั้น แล้วพรุ่งนี้จึงค่อยเข้าไปคำนับ ขอท่านเป็นศิษย์


เวลาเช้ารุ่งขึ้น ขณะที่องค์ลีเหล่ากุน และอวนคูเซียนกำลังนั่งสนทนากันอยู่ภายในถ้ำ ก็มีลมพัดพาเอากลิ่นดอกไม้หอม ระรื่นเข้ามาภายในถ้ำ ซึ่งเป็นที่ผิดสังเกตกว่าทุกวัน องค์ลีเหล่ากุนจึงได้บอกกับอวนคูเซียนว่า "ท่านพอจะทราบเหตุหรือไม่ ว่า ที่ลมพัดเอากลิ่นดอกไม้หอมประหลาดเข้ามาเช่นนี้ เป็นเพราะมีผู้วิเศษมาหาเราถึงสำนัก ข้าพเจ้าได้ตรวจดูบัญชีเซียน ทั้งปวงแล้ว เห็นว่าหลี่เหียนผู้นี้ เห็นจะได้สำเร็จเป็นเซียนในไม่ช้า และบัดนี้เค้าก็ได้มานอนอยู่ใกล้ประตูสำนัก แห่งเราแล้ว" อวนคูเซียนได้ฟังดังนั้น จึงสั่งให้เต้าหยินน้อยผู้เป็นศิษย์สองคนออกไปดู พอเต้าหยินน้อยออกมาถึงหน้าถ้ำ ก็พอดีเห็น นักพรตผู้หนึ่ง รูปร่างสง่างามผิว พรรณผ่องใส เดินออกมาจากพุ่มไม้ใหญ่ตรงข้ามกับประตูถ้ำ จึงตรงเข้าไปคำนับถามว่า

  เต้าหยินน้อย: "ท่านผู้แซ่หลี่ใช่หรือไม่"
  หลี่เหียน: "เหตุใดท่านทั้งสองจึงรู้จักเรา"
  เต้าหยินน้อย: "ท่านลีเหล่ากุน อาจารย์ของข้าพเจ้าบอกแก่อวนคูเซียนว่า ท่านแซ่หลี่ จะมาถึงยังสำนักในวันนี้ จึงได้ให้ข้าพเจ้าทั้งสองออกมาคอยรับ"

หลี่เหียนได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดี รำพึงว่าอันตัวเรากับอาจารย์ลีเหล่ากุน แต่ชาติก่อนคงจะได้เคยอุปถัมภ์กันมา ท่านจึงได้ ล่วงรู้ถึงการมาของเราดั่งนี้ การที่เราอุตส่าห์พยายามมุ่งหน้ามาครั้งนี้ คงจะเป็นผลสมความประสงค์เป็นแน่ คิดแล้วก็ตาม เต้าหยินน้อยเข้าไปภายในถ้ำ เห็นท่านลีเหล่ากุนนั่งอยู่บนอาสนะ มีฉวีวรรณสดชื่นผ่องใสปรากฏเบ็ญจรังสีอยู่รอบกาย ถัดมาเบื้องขวาเห็นเซียนผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่าทางสง่างามผึ่งผาย ผมขาว ตายาว คิ้วยาว ดั่งวาด นั่งอยู่ด้วย หลี่เหียนก็ตรง เข้าไปประสานมือทำความเคารพด้วยความปลื้มปิติ ท่านผู้สำเร็จทั้งสองก็คำนับตอบ จากนั้นลีเหล่ากุนก็ได้บอกให้หลี่เหียน นั่งในที่อันได้จัดไว้ แต่ท่านก็ไม่ยอมนั่ง ทั้งยังทำคำความเคารพอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกล่าวว่า 

  หลี่เหียน:
"อันตัวข้าพเจ้านี้ต่ำศักดิ์ ทั้งสติ ปัญญาก็น้อย เป็นผู้โง่เขลา ได้แต่เพียรพยายาม บำเพ็ญภาวนาโดยลำพังตน ปราศจากอาจารย์ผู้ชี้แนะ จึงมิได้บรรลุผล ข้าพเจ้าจึง ดั้นด้นบุกป่าฝ่าดง มาด้วยความอุตสาหพยายาม มิเห็นแก่ชีวิต เพื่อมุ่งมาขอกราบ เท้าท่านอาจารย์ มอบตัวเป็นศิษย์ ให้ท่านอาจารย์เมตตาอนุเคราะห์ ช่วยอบรม สั่งสอนข้าพเจ้า จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่ข้าพเจ้าจะนั่งตีตนเสมอท่าน อาจารย์ เพียงแค่ได้ยืนคอยรับโอวาทจากท่าน ก็นับว่าเป็นความเมตตาของท่าน อาจารย์มากแล้ว"
  ลีเหล่ากุน:
"เรากับเจ้านั้นได้พบกันในวันนี้ ก็เพราะได้เคยอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันมาแต่ชาติ ปางก่อน มาคราวนี้ เราก็จะได้ช่วยกันอีก ฉะนั้นขอให้เจ้าจงรับโอวาทปฏิบัตินี้ไป เจ้าจงพยายามสงบอารมณ์ทั้งมวลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาจาก ภายนอก หรือภายใน ร่างกาย เมื่ออารมณ์และร่างกายสงบแล้ว กามราคะทั้งหลายก็จะไม่เกิด เมื่อกาม ระคะสิ้นไป กิเลสทั้ง ปวงก็จะหายไป และเมื่อกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว จิตก็จะผ่อง ใสขาวบริสุทธิ์ หากปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็จะถึงซึ่งความเกษมสุขเป็น อมตะ"

เมื่อหลี่เหียนได้รับโอวาทนั้น ก็บังเกิดปิติซาบซึ้ง มีความเข้าใจถ่องแท้ในวัตรปฏิบัติของเซียน จึงก้มตัวลงกราบที่พื้น แล้ว พูดว่า "โอวาทของท่านอาจารย์ที่ให้แก่ข้าพเจ้านี้ เป็นหลักใหญ่แห่งการบำเพ็ญเพียรอย่างแท้จริง ซึ่งข้าพเจ้ามิเคยได้ยิน มาก่อนเลย" พร้อมทั้งหันไปคำนับอวนคูเซียนครั้งหนึ่ง อวนคูเซียนจึงว่า "ชื่อของท่านนั้น ได้ปรากฏในบัญชีเซียนแล้ว ต่อ ไปนี้ จงหมั่นปฏิบัติตามโอวาทคำสอนของท่านอาจารย์ลีเหล่ากุนเถิด ในไม่ช้าก็จะได้บรรลุผลสำเร็จแห่งเซียนภาวะเป็นแน่ แท้" จากนั้นอวนคูเซียนก็สั่งให้เต้าหยินผู้น้อยผู้เป็นศิษย์ไปส่งหลี่เหียน หลี่เหียนคุกเข่าลงกราบท่านลีเหล่ากุนสามครั้ง ใน ฐานะศิษย์คำนับอาจารย์ แล้วคำนับลาอวนคูเซียน เดินตามเต้าหยินน้อยออกจากถ้ำ กลับคืนสู่สำนักเดิม


ครั้นเมื่อหลี่เหียนกลับมาถึงสำนักแล้ว ก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรตามโอวาทของท่านลีเหล่ากุน เจริญภาวนา สำรวมจิตมั่น จนใน ที่สุด หลี่เหียนก็สามารถถอดจิตออกจากร่าง และใช้กายทิพย์ล่องลอยไปไหนต่อไหนได้ทุกหนแห่งตามความต้องการ ต่อมาเมื่อผู็คนรู้ว่าหลี่เหียนได้สำเร็จฌานสมาบัติแล้ว ต่างก็มีความนับถือ และขอปวารณาตนเป็นศิษย์หลี่เหียนจำนวนมาก จนกระทั่งอยู่มาวันนึง ขณะที่หลี่เหียนกำลังอบรมสั่งสอนบรรดาศิษย์อยู่ ก็ได้เห็นเบ็ญจรังสีส่องลอดเข้ามาตามช่องหน้าต่าง จึงได้สงบจิตพิจารณา ก็แจ้งว่าท่านลีเหล่ากุนผู้เป็นอาจารย์กับอวนคูเซียนกำลังจะมาที่สำนัก เมื่อแหงนหน้าดู ก็พบกับ อาจารย์ลีเหล่ากุน และอวนคูเซียนมาหาตน หลี่เหียนดีใจยิ่งนัก จึงคุกเข่าลงกราบสามครั้ง ท่านลีเหล่ากุนเห็นแล้ว ก็หัวเราะ ด้วยความพอใจแล้วพูดว่า "เราแจ้งในความรำพึงคิดของเจ้าตลอดแล้ว เรามีความพอใจในการปฏิบัติตามโอวาทของเจ้ายิ่ง นัก แต่ที่เรามาในวันนี้ ด้วยเราจะมาแจ้งแก่เจ้าว่า ต่อแต่นี้ไปอีก 10 วัน ให้เจ้านั้นถอดจิตไปกับเรา" ว่าแล้วลีเหล่ากุน และ อวนคูเซียนก็ลากลับไป 


ฝ่ายหลี่เหียน เมื่อส่งอาจารย์กลับไปแล้ว ก็เข้าปฏิบัติบำเพ็ญเจริญสมาธิภาวนาด้วยความขะมักเขม้น จนวันคืนล่วงผ่านไป จนครบกำหนด 10 วัน ตามที่ท่านลีเหล่ากุนผู้อาจารย์ได้สั่งไว้ ท่านจึงได้เรียก ลูกศิษย์เอกนามว่า "แปะอี / เอี้ยะจื้อ" (ต่อ มาก็คือ แปะอีเซียนท้ง) มาสั่งว่า "วันนี้เราจะถอดจิตออกไปหาท่านลีเหล่ากุน ผู้เป็นอาจารย์ของเรา ตามที่ท่านได้สั่งไว้ เราขอฝากให้เจ้า เป็นผู้รักษาร่างของเราไว้ เป็นกำหนดเวลา 7 วัน ในวันที่ 7 เราจะกลับมาเข้าร่างตามเดิม แต่หากเมื่อครบ กำหนด 7 วันแล้ว เรายังไม่กลับมาเข้าร่าง เจ้าจงเอาไฟเผาร่างของเราเสียเถิด เพื่อมิให้ผู้ใดรู้ และเกิดความยุ่งยากต่อไป แต่สำหรับในระหว่าง 7 วันนี้ เจ้าจงระวังรักษาร่างให้ดี อย่าให้เป็นอันตรายได้" เมื่อหลี่เหียนได้สั่งศิษย์เรียบร้อยแล้ว ก็เข้า ฌานถอดจิตไปพอองค์ลี่เหล่ากุนยังเขาเล่งห่วยหวยโดยพลัน


ฝ่ายแปะอีผู้เป็นศิษย์ เมื่ออาจารย์ได้ถอดวิญญาณไปแล้ว ก็ได้เอาใจใส่ดูแลรักษาร่างของอาจารย์เป็นอย่างดีตลอดมา ทำ เช่นนี้อยู่จนย่างเข้าวันที่ 3 ทางบ้านของแปะอีได้มาแจ้งว่า มารดาของเค้ากำลังป่วย ให้รีบกลับบ้านโดยเร็ว แต่แปะอี ด้วย ความเป็นห่วงอาจารย์จึงไม่ได้กลับไป จนล่วงเข้า วันที่ 6 คนใช้ที่บ้านแปะอี ก็ได้กลับมาแจ้งเค้าอีกครั้ง ว่ามารดาของเค้า กำลังป่วยหนักมาก ถ้ายังช้าอยู่ อาจไม่ทันการ แปะอีได้ฟังดังนั้นก็ร่ำไห้บอกว่า "อาจารย์ได้สั่งเราให้ระวังรักษาร่างของ ท่านไว้ 7 วัน แล้วท่านจะกลับมาเข้าร่างเมื่อครบวันที่ 7 วันนี้เป็นวันที่ 6 หากเราไปรักษาแม่ ใครเล่าจะเป็นผู้ดูแลร่าง อาจารย์แทนเรา" คนใช้ของแปะอีได้ยินดังนั้ง จึงพูดว่า "นี่ก็ตั้ง 6 วันผ่านไป ตับไตไส้พุงของอาจารย์ท่านคงจะเน่าเปื่อยไป หมดแล้ว จะฟื้นคืนมาได้อย่างไร อีกประการขอให้ท่านพิจารณาดู อันอาจารย์นั้นได้อุปถัมภ์สั่งสอนศิษย์ เมื่อเติบใหญ่แล้ว เท่านั้น แต่มารดานั้นได้เลี้ยงดูอุปถัมภ์มาแต่อ้อนแต่ออก ฉะนั้นการที่ท่านจะเอาบุญคุณของอาจารย์ มาเทียบกับคุณของ มารดานั้นไม่ควร และถ้าอาจารย์ท่านจะฟื้นคืนร่าง ป่านนี้ก็คงฟื้นมาแล้ว แต่นี้ข้าพเจ้ามาพิจารณาเห็นว่า ท่านคงสำเร็จเป็น เซียนไปแล้ว คงจะไม่กลับคืนมาอีกเป็นแน่ อีกประการหนึ่ง หากท่านทอดทิ้งร่างอาจารย์ไป ก็เพียงแต่ไม่รักษาสัญญาเท่า นั้น แต่หากท่านไม่ไปรักษาดูแลมารดาของท่านที่กำลังป่วยหนักนี้สิ ถ้าบังเอิญมารดาของท่านเสียไป ไหนเลยท่านจะพ้น คำครหาว่าท่านอกกตัญญู ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ ขอท่านจงพิจารณาเอาเองเถิด" 


แปะอีได้ฟังดังนั้นก็เห็นชอบด้วย แต่ครั้นจะทิ้งร่างอาจารย์ไว้เฉยๆ ก็เกรงจะมีใคร มาทำอันตรายกับร่างของอาจารย์ คิดไป คิดมาอยู่หลายตลบ นึกถึงคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ หากครบ 7 วัน ท่านยังไม่กลับมา ก็ให้เผาร่างของท่านเสีย นี่ก็วันที่ 6 เข้าไปแล้ว อาจารย์ก็ยังไม่กลับมา แปะอีจึงตัดสินใจเผาร่างของอาจารย์ พร้อมทั้งจัดเครื่องเจบูชา ร่ำไห้คุกเข่าลงกราบ ขอขมาผู้เป็นอาจารย์ บอกเล่าถึงความจำเป็นที่ต้องกระทำดังนี้ จากนั้นก็รีบเก็บข้าวของออกเดินทางไปพร้อมกับคนใช้ แต่เมื่อถึงบ้าน ก็พบว่ามารดาของเค้านั้นได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว


ฝ่ายองค์ลีเหล่ากุนและอวนคูเซียน ก็ได้พาจิตของหลี่เหียนท่องเที่ยวไปตามสำนักเซียนทั้งสิ้น 36 สำนัก เพื่อร่ำเรียนวิชา, ข้อปฏิบัติ, เวทมนต์ และรับคำแนะนำต่างๆจากทุกสำนัก จนล่วงเข้าวันที่ 7 หลี่เหียนเริ่มรู้สึกกังวลกับร่างที่ถอดทิ้งไว้ยัง สำนัก เกรงศิษย์จะเป็นห่วง จึงบอกลาต่ออาจารย์ ท่านลีเหล่ากุนได้ยิน ก็หัวเราะ แล้วกล่าวเป็นโศลกเป็นปริศนาว่า

          " ระแทะเปล่าเข้าทางจร
ผ้าขาดกลาดเกลื่อนลาน
อาลัยร่างกายเก่า
           กายาจะมีมา
ครั้นและจะเปะปะ
แต่จิตไม่หมองมล แล้วหยุดนอนหนุนข้าวสาร
พอพานพบก็หยิบมา
กลับเป็นเถ้าถมสุธา
หน้าตาไหม้คงได้ผล
ก้าวเกะกะตามถนน
ดลฤทธิ์ยิ่งทุกสิ่งอันฯ "



 
รูปปั้นองค์ลี้ทิไกว้โจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

ฝ่ายหลี่เหียนได้ฟังโศลกปริศนาในขณะนั้น ก็ยังไม่เข้าใจ ในความหมาย ทั้งวันนั้นก็เป็นวันครบกำหนด 7 วัน จึงมีแต่ ความกังวล เกรงว่าร่างจะเป็นอันตราย เมื่อได้กราบลา อาจารย์และอวนคูเซียนแล้ว ก็รีบกลับมายังสำนักโดยด่วน แต่เมื่อกลับมาถึง ก็ไม่เห็นร่างของตน ทั้งศิษย์ก็หายไปด้วย เหลือเพียงแต่โถกระดูก ท่านก็รู้ทันทีว่าผู้เป็นศิษย์คงเผา ร่างของตนเสียแล้ว ก็เสียใจเป็นอันมาก นึกติเตียนว่าศิษย์ ไม่น่าด่วนเผาร่างของท่านเลย หรือว่าศิษย์มีความจำเป็น เดือดร้อนอย่างไร จึงได้เข้าฌาณสมาธิเพื่อดูเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น จนได้ทราบถึงเรื่องราวทั้งหมด ถึงกระนั้นก็ดี ตัวท่าน เองยังไม่ได้เสียชิวิต ท่านจำต้องหาร่างใครซักคนมาแทน มิฉะนั้น หากครบ 7 วัน ท่านก็จะกลายเป็นวิญญาณเร่ร่อน พเนจร


ท่านจึงได้ออกหาร่าง ไปเรื่อยๆ จนเกือบจะข้ามผ่านวันที่ 7 ก็ไปพบเข้ากับร่างของคนที่เพิ่งจะเสียชีวิตมาไม่นาน นอน อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ด้วยอารามรีบร้อน ยามเกือบรุ่งสางที่เห็น อะไรไม่ค่อยชัด ท่านก็ตัดสินใจเข้าสวมร่างนั้นทันที โดยที่ ท่านเองก็ไม่รู้ว่าร่างนั้น มีลักษณะหน้าตาเป็นยังไง จน กระทั่งเมื่อรู้สึกตัว ก็พบว่า ร่างนั้นเป็นร่างของขอทานที่เพิ่ง จะสิ้นใจ ขาของเค้านั้นเสียไปหนึ่งข้าง ผมเผ้ารุงรัง ทั้งยังมี หน้าตาที่อัปลักษณ์ซะอีก    พลันบัดนั้น     หลี่เหียนก็ได้สติ 

หวนระลึกถึงคำโศลกปริศนาของท่านอาจารย์ขึ้นมา เกิดความสว่าง ในดวงปัญญา ตระหนักถึงเหตุการณ์ต่างๆ แต่อดีต และ ปัจจุบันได้โดยถ่องแท้ ขณะนั้นเอง องค์ไท้เสียงเหล่ากุงก็พลัน ปรากฏกายขึ้น และบอกกับท่านว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากลิขิตสวรรค์ ลิขิตสวรรค์ที่กำหนดให้ท่านต้องมาอยู่ในร่างนี้ ลิขิตสวรรค์ที่กำหนดให้ท่านมาเป็นเซียน และก็ เป็นลิขิตสวรรค์ที่ท่านจะต้องไปช่วยเหลือมวลมนุษย์ เมื่อพูดจบ ท่านก็มอบน้ำเต้าให้กับองค์ลี้ทิไกว้โจวซือไว้ เพื่อโปรด มนุษย์ และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับผู้คนที่เจ็บป่วย


เมื่อองค์ลี้ทิไกว้โจวซือได้สำเร็จมรรคผลแล้ว ท่านก็นึกถึงศิษย์ของท่าน จึงเข้าฌานพิจารณามองไปยังศิษย์ ก็รู้ว่ามารดา ของศิษย์นั้น ได้เสียไปก่อนที่ศิษย์จะกลับไปถึง เกิดความสงสาร คิดว่าบัดนี้ตัวเราก็ได้บรรลุผลสำเร็จดั่งความปรารถนาแล้ว สามารถที่จะช่วยคนตายที่ยังไม่เน่าเปื่อยให้กลับคืนชีวิตขึ้นมาได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะไปช่วยมารดาของแปะอี ผู้เป็นศิษย์ ของเรา คิดดังนั้นท่านก็ออกเดินทางไปยังบ้านของแปะอี ครั้นไปถึง ก็ได้เห็นแปะอียืนร่ำไห้คร่ำครวญกอดโลงศพ แล้วก็ เงยหน้าขึ้น ถอนใจยาว ตามองดูกั้นหยั่นที่ติดอยู่ข้างฝา แสดงอาการดังจะฆ่าตัวตาย ท่านจึงเดินเข้าไปใกล้ศิษย์และพูดว่า

  ลี้ทิไกว้โจวซือ:
"อันการเกิดการตายนั้นเป็นธรรมดาของสัตว์โลก จะห้ามจะป้องกันนั้นไม่ได้ หน้าที่ของบุตรนั้น เมื่อบิดามารดาชีวิตอยู่ ก็ควรจะดูแลท่านให้ดี เมื่อท่านถึง
แก่ความตาย บุตรก็มีหน้าที่บรรจุศพ ทำการฝังเสียในที่อันสมควร เสร็จจาก
นั้นแล้ว ก็ทำการไหว้อุทิศกุศลไปให้ท่าน หน้าที่ของบุตรมีดังนี้ ก็แล้วร่างที่
นอนอยู่ในหีบศพนั้น เกี่ยวข้องเป็นอะไรกับท่านเล่า จึงเศร้า โศรกดูดังจะฆ่า
ตัวตายฉะนี้"

แปะอีได้ฟังดังนั้นก็คิดว่า ชายแก่ขอทาน รูปร่างพิการสกปรกผู้นี้มาแต่ไหน ดูเครื่องใช้ก็มีแต่น้ำเต้าที่สะพาย และไม้เท้า ที่ถืออยู่ ที่น่าอัศจรรย์และแปลกกว่าขอทานอื่น ก็เพียงแต่ กิริยาวาจา และสุ้มเสียงที่ช่างคล้ายกับอาจารย์ของเขาเสียจริงๆ จำจะเล่าความจริงให้แกได้รับรู้ไว้ ถึงแม้เราจะฆ่าตัวตาย ความติฉินนินทาก็คงจะลดหย่อนลงบ้าง เมื่อคิดดังนั้นแล้ว แปะอี จึงตอบชายขอทานผู้นั้นไปว่า 

  แปะอี:
"ท่านผู้เฒ่าข้าพเจ้านี้ชื่อเอี้ยจื๊อ ผู้ที่อยู่ในโลงนี้เป็นมารดาของข้าพเจ้า" แล้ว
แปะอีก็เล่าเรื่อง ราวแต่ต้น จนจบให้องค์ลี้ทิไกว้ฟัง แล้วกล่าวว่า "ข้าพเจ้านี้
เป็นคนเลวผิดสัญญาต่อครูบาอาจารย์ที่ได้มอบความไว้วางใจให้     และยัง
อกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด โดยมิได้อยู่ดูแลรักษาพยาบาลท่าน มีความ
ผิดอย่างใหญ่หลวงถึงสองประการ คุณค่าของความเป็นคนดี   เป็นอันปราศ
หมดไปดั่งนี้แล้ว ก็ควรตายเสียดีกว่า จะอยู่ไปให้ได้รับความอัปยศ" 

ว่าแล้ว แปะอีก็ชักกั้นหยั่นจะเชือดคอตาย องค์ลี้ทิไกว้จึงเข้าแย่งเอากั้นหยั่นไว้
แล้วพูดว่า 

  ลี้ทิไกว้โจวซือ: "อันความกตัญญูนั้นอยู่ที่ใจ การที่ท่านมีน้ำใจดังที่ แสดงมานี้ นับว่าเป็นผู้
ที่ถึงพร้อมด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นอย่างดี  อนึ่ง การที่ท่านติเตียนตัว
เองว่า ไม่มีความกตัญญู รู้คุณบิดามารดานั้น   นั่นก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึง ความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา  นั่นก็เป็นเครื่องชี้ให้เป็นถึงความกตัญญูอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวท่าน  ขอท่านอย่าวิตกในการตายของมารดาท่านเลย ข้าพเจ้านี้เมื่อยังเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพร ถิ่นทุรกันดาร ได้มีวาสนา
พบกับท่านผู้วิเศษท่านหนึ่ง ได้ให้ยาแก่ข้าพเจ้าไว้  สำหรับช่วยผู้ที่มีคุณ-
ธรรมในเวลาคับขัน  มารดาของท่านเพิ่งตายเพียงสองวัน  ทั้งฤดูนี้ก็เป็น
ฤดูหนาว คงรักษาร่างกายไว้ได้คงยังไม่เน่าเปื่อย ลองเปิดโลง ให้ยากิน 
บางทีบุญวาสนาอาจช่วยให้ฟื้นคืนมาได้ "

แปะอีได้ยินดังนั้น ก็ดีใจเป็นอย่างยิ่ง ทรุดตัวลงกราบที่พื้น องค์ลี้ทิไกว้โจวซือจึงใช้ไม้เท้างัดฝาโลงออก จากนั้นก็นำยา (เรียกว่า เซียงตัง) ใส่ลงในชามละลายกับน้ำ แปะอีก็ทำการอ้าปากมารดา รับเอายามากรอกเข้าไปจนหมด ครู่หนึ่งมารดา ของแปะอีก็ฟื้นขึ้นมา เหมือนเพียงแค่หลับไปแล้วตื่นขึ้น แปะอีสุดแสนจะดีใจ ช่วยกันกับคนใช้พยุงมารดาออกจากโลง ผลัดเครื่องแต่งตัวเสียใหม่ แล้วจัดหาอาหารมาให้รับประทาน มีกำลังขึ้นเป็นปกติ เค้าจึงบอกแก่มารดาว่า มารดานั้นเจ็บ หนัก และได้หมดลมเสียไปแล้ว 2 วัน หากแต่โชคดีที่ท่านอาจารย์ผู้นี้มาพบเข้า ได้ให้ยาวิเศษกิน มารดาจึงได้มีชีวิตคืนมา ได้ มารดาของแปะอีได้ฟังบุตรชายเล่าให้ฟังดังนั้น ก็มีความปิติยิ่งนัก ลุกขึ้นคุกเข่ากราบองค์ทิไกว้ลี้โจวซือ ด้วยความ เคารพบูชาอันสูงสุด 3 ครั้ง แล้วก็ถามถึงชื่อ และแซ่เพื่อจักได้จำไว้เป็นที่เคารพบูชาต่อไปภายหน้า 


องค์ลี้ทิไกว้โจวซือคำนับตอบ แล้วหันมาพูดกับแปะอีว่า "เอี้ยจื้อเอ๋ย เรานี้มิใช่คนอื่นใดหรอก ที่แท้ก็คือหลี่เหียน อาจารย์ ของเจ้าเอง" ยังความงุนงงให้กับแปะอีผู้เป็นศิษย์อย่างยิ่ง แปะอีจึงเอ่ยกับผู้เป็นเซียนตรงหน้าว่า "ท่านเซียน ท่านจะเป็น อาจารย์ของข้าไปได้อย่างไรกัน อาจารย์ของข้านั้นสิ้นไปแล้ว ทั้งท่านยังเป็นชายหนุ่มรูปร่างหน้าตาดี จะเป็นไปได้อย่างไร กัน" องค์ลี้ทิไกว้โจวซือจึงได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้แปะอีได้ฟังทุกประการ แปะอีจึงได้เข้าใจ และขอตามรับใช้ท่านนับแต่ นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสำเร็จตามอาจารย์ไป




ฮั่นเจ็งลี้





อักษรจีน: 汉钟离 / 漢鍾離 
, 鐘离權
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ฮั่นจงหลี / ฮั่นเจ็งลี้
ภาษาจีนกลาง: จงหลีฉวน
(Zhōnglí Quán)

ความหมายของชื่อ:

鐘离 =
Zhōnglí อ่านว่า จงหลี
เป็นแซ่แบบอักษรคู่ สมัยโบราณ
= Quán อ่านว่า ฉวน
แปลว่า สิทธิ อำนาจ หน้าที่ และใน
สมัยโบราณ หมายถึง ตาชั่ง หรือ หลักการ
 
   
ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ เป็นเซียนองค์ที่สองของโป๊ยเซียน  เดิมแซ่เจ็งลี้  ชื่อค้วง ได้ฉายาว่า “เจี้ยเอี้ยงจื้อ” (正阳子 หรือที่ภาษา
จีนกลาง อ่านว่า เจิ้งหยางจื่อ) เป็นชาวเมืองห่ำเอี๊ยง (咸陽)  เข้ารับราชการตำแหน่งใหญ่โตเป็นแม่ทัพออกศึก แต่เนื่อง จากดวงไม่ส่งเสริมทางด้านศึกสงคราม จึงเบนเข็มออกมาทำมาค้าขาย โดยท่านได้ประกอบอาชีพขายหมู ซึ่งฮั่นเจ็งลี้ โจวซือเป็นคนที่มีมือตรงมาก เหมือนดั่งตาชั่ง กล่าวคือท่านสามารถหั่นหมูขายได้ โดยที่ท่านไม่ต้องใช้ตาชั่งใดๆ วัดเลย และน้ำหนักของหมูที่ท่านหั่นออกมานั้น ก็จะมีน้ำหนักที่ถูกต้อง ไม่เคยผิดเพี้ยน 


 
รูปปั้นองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

แต่ด้วยชะตาฟ้าดินกำหนดไว้แล้ว ให้ท่านเกิดมาเพื่อเป็น "เซียน" ไม่ใช่ขุนพล หรือคนขายหมู  วันนึงองค์ไท้เสียง เหล่ากุงจึงได้แปลงกายลงมา ทำทีท่าเป็นลูกค้ามาซื้อเนื้อ หมูกับองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ แต่เมื่อท่านหั่นเนื้อหมูตามจำนวน ที่องค์ไท้เสียงเหล่ากุงต้องการแล้วนั้น องค์ไท้เสียงเหล่ากุง กลับบอกกับท่านว่า "ตาชั่งของท่านนั้นโกง ท่านหั่นเนื้อหมู ให้ข้าขาดไป" 


ท่านจึงหันกลับไปมองกองเนื้อหมูที่หั่นไว้ ก็พบว่าหั่นขาด ไปจริง ดังที่องค์ไท้เสียงเหล่ากุงว่า ตอนนั้นเอง ท่านก็เริ่ม แปลกใจ ที่ท่านหั่นเนื้อหมูไม่ตรงตามน้ำหนักอย่างเคย  แต่ ท่านก็ยังไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก หันกลับมาหั่นเนื้อหมูเพิ่มลง ไป เท่าที่คิดว่าจะพอดีกับจำนวนที่องค์ไท้เสียงเหล่ากุงได้ สั่ง


แต่ทว่าครั้งนี้องค์ไท้เสียงเหล่ากุงกลับบอกท่านว่า ท่านเจ็ง ลี้ ท่านหั่นเนื้อหมูให้ข้าเกินไปอีกแล้ว  เมื่อองค์ฮั่นเจ็งลี้ โจวซือได้ยิน และเห็นดังนั้น ก็ยังความแปลกใจขึ้นทวีคูณ เอ่ยปากถามองค์ไท้เสียงเหล่ากุงกลับไปว่า "ตอนหั่น ข้าก็ ว่า ข้าก็หั่น ตรงตามน้ำหนักแล้ว ไยวันนี้มันจึงไม่ตรงดังเคย แล้วข้าจะต้องทำอย่างไร ถึงจะหั่นเนื้อหมูให้ท่านได้พอดีกันเล่า"



องค์ไท้เสียงเหล่ากุงจึงสบโอกาส และบอกกับองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือไปว่า แท้จริงแล้วนั้นอาชีพของท่านเจ็งลี้นั้นไม่ใช่การ ขายหมู ท่านไม่สังเกตเหรอ ว่าท่านขายหมูไปเท่าไหร่ ท่านก็ยังอยู่ที่เดิม ซื้อหมูมาเท่าไหร่ ก็ขายได้เท่านั้น ไม่มีกำรี้กำไร แต่อย่างใด  "ท่านเจ็งลี้  ตัวท่านนั้น มีดวงที่จะต้องประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้คน"   ทว่า เมื่อองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือได้ยิน เช่นนั้น ก็พลันแย้งกับองค์ไท้เสียงเหล่ากุงไปว่า "มันจะเป็นไปได้อย่างไรกันท่าน หรือท่านจะให้ข้านั้นกลับไปออกศึก สู้รบ อย่างเมื่อก่อน มันคงเป็นไปไม่ได้หรอก ตัวข้านั้นเบื่อราชการทหารเหลือเกินแล้ว" องค์ไท้เสียงเหล่ากุง เมื่อได้ยินดังนั้น จึงได้กล่าวแนะนำให้องค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือนั้น ไปศึกษาบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่า จนต่อมาได้สำเร็จบรรลุมรรคผล กลายเป็น เซียนองค์ที่ 2 แห่งโป๊ยเซียน




หลือต้งปิง

 


อักษรจีน: 吕洞宾 / 吕洞賓
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ลือท่งปิน / หลือต้งปิง
ภาษาจีนกลาง: ลยู่ต้งปิน
(Lǚ​ Dòng Bīn​)

ความหมายของชื่อ:

=
Lǚ อ่านว่า ลยู่่
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน หมายถึง กระดูกสันหลัง หรือ หลักการได้
ด้วย
= Dòng อ่านว่า ต้ง
แปลว่า รู หรือ ถ้ำ
= Bīn อ่านว่า ปิน
แปลว่า อาคันตุกะ หรือ ผู้มาเยือน
 
 
หลือต้งปินโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่สามของโป๊ยเซียน แท้จริงแล้วนั้น ท่านเป็นเทพเบื้องบนที่ถูกส่งลงมาจุติเป็นมนุษย์ เพื่อ ช่วยเหลือมวลมนุษย์  ท่านมีแซ่ว่าหลือ ชื่อง้ำ เป็นชาวเมืองเกียเตี๋ยว (京兆) เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ( 唐朝) ท่านเป็นผู้มี วิชาความรู้แตกฉาน อีกทั้งมีปฏิภาณไหวพริบเหนือคน แต่ทว่าเสียดายที่ท่านไม่มีดวงในการรับราชการ พยายามสอบแข่ง ขันเข้ารับราชการเพื่อเป็นจอหงวน ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ จนกระทั่งอายุย่างเข้า 64 ปีก็ยังไม่ติด


รูปปั้นองค์หลือต้งปิงโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

มีตำนานเล่าว่า สาเหตุที่เป็นเยี่ยงนี้ เพราะท่านโดนมังกร (ไหเหล่งอ๊วง) กลั่นแกล้งให้สอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่ท่านเป็นคน เก่ง และน่าจะสอบติด แต่สอบยังไงก็สอบไม่ได้ จึงเกิด ความเบื่อหน่ายต่อการที่จะเข้ารับราชการ ทอดอาลัยต่อการ
แสวงหาลาภยศ และท้อใจในทุกสิ่งทุกอย่าง จึงใช้ชีวิต เดินทางท่องเที่ยวไปทุกแห่งหน


จนกระทั่งอยู่มาวันนึง ท่านได้พบกับองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ ซึ่งองค์ฮั่นเจ็งลี้ก็ได้บอกกับท่านว่า ตัวท่านนั้นไม่ได้มีลิขิต ทางด้านนี้หรอก ท่านนั้นถูกส่งลงมาเพื่อให้ช่วยเหลือผู้คน จากนั้น ทั้งสองก็สนทนาเรื่องธรรมะกันอย่างถูกอัธยาศัย จนหลือต้งปิงโจวซือได้เห็นแจ้งแก่โลก จึงขอปวารณาตัว เป็นศิษย์ให้ฝึกอบรมสั่งสอน องค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือจึงนำท่าน ไปบำเพ็ญเพียรภาวนาด้วย จนสำเร็จเป็นเซียนองค์ที่สาม แห่งแปดเซียน

ภายหลังจากที่ท่านได้สำเร็จเป็นเซียนแล้ว ท่านก็ยังมีห่วง กับภรรยาและลูก  จึงได้กลับไปเยี่ยมบ้าน  แต่กลับพบชาย ชราคนนึง ซึ่งก็คือบุตรของท่านเอง ที่บัดนี้ได้แก่ชราลงมาก บอกกับท่านว่า บิดาของเขาได้ออกไปสอบเข้ารับราชการ

เมื่อนานมาแล้ว จนบัดนี้ก็ยังไม่กลับมา เลยตั้งป้ายไหว้ให้กับบิดา ซึ่งก็คือชื่อของท่าน หลือต้งปินนั่นเอง ท่านจึงคิดว่าท่าน นั้น ได้หมดภาระจบจากทางโลกแล้ว จากนั้นท่านจึงออกเดินทางเพื่อโปรดมนุษย์สืบต่อไป




ฮั่นเซียงจื้อ

อักษรจีน: 韩湘子
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ฮั่นเซียงจื้อ
ภาษาจีนกลาง: หาญเซียงจื่อ
(Hán Xiāng Zǐ​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Hán อ่านว่า หาญ
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน ไม่มีคำ
แปลโดยตรง แต่เป็นชื่อรัฐสมัย
โบราณ
= Xiāng อ่านว่า เซียง
ไม่มีคำแปลตรงตัว แต่เป็นชื่อ
เดิมของมณฑลหูหนาน
= Zǐ อ่านว่า จื่อ
แปลตรงตัว หมายถึง ลูกชาย
 
 
ฮั่นเซียงจื้อโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่สี่ของโป๊ยเซียน เป็นชาวเมืองน่ำเอี๊ยง (南陽) เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเป็นผู้รอบรู้ ศึกษาคัมภีร์เต๋าจนแตกฉานตั้งแต่เยาว์วัย มีความสามารถพิเศษในเชิงกวี และดนตรีเป็นเลิศ โดยเฉพาะ “ขลุ่ย” เสียงขลุ่ย
ของท่านมีความไพเราะมาก จนสามารถสะกดให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้มหลงใหล



รูปปั้นองค์ฮั่นเซียงจื้อโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2


ท่านเป็นหลานชายของฮั่นหยู ซึ่งรับราชการเป็นปลัดของ กระทรวงวัง ด้วยความสามารถของท่าน ท่านจึงคอยช่วย งานราชการต่างๆ ของบิดา และฮั่นหยู ผู้เป็นลุงมาโดย ตลอด จนทำให้การงานต่างๆ ของบิดา และ ลุงสามารถ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


ครั้งหนึ่ง ในเมืองจะเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ ฮั่นหยู ผู้ เป็นลุง จำเป็นต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำใหญ่ ให้สำเร็จ เพื่อพาชาวบ้านหนีภัย หลบน้ำท่วม ข้ามไปอีกฝั่งนึงของ แม่น้ำ แต่ในสมัยนั้น การจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่ใหญ่ ขนาดนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก ยิ่งเป็นการสร้างภายในระยะ เวลากระชั้นชิด ก็ยิ่งยากเป็นทวีคูณ


ฮั่นหยูจึงได้ขอร้องให้หลานชาย หรือก็คือองค์ฮั่นเซียงจื้อ โจวซือช่วยเหลือ ซึ่งองค์ฮั่นเซียงจื้อเอง ณ เวลานั้น ท่าน ก็เกิดนิมิตถึงองค์ไท้เสียงเหล่ากุง มาบอกกับท่านว่า ให้ท่าน
นั้นใช้วิชาของท่าน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน โดยเดินทางไป ที่ภูเขาเฟิ่งหวง และเสกก้อนหิน ที่ภูเขานั้น ให้เป็นแพะเดิน ตามท่านมายังแม่น้ำที่ต้องการจะสร้างสะพาน ซึ่งทั้งหมดนี้ ท่านจะต้องทำให้สำเร็จภายในคืนนั้น เพื่อสร้างสะพานให้ สำเร็จลุล่วง และอพยพชาวบ้านข้ามฝั่งแม่น้ำให้ทัน เพราะนี่ เป็น ลิขิตแห่งสวรรค์ที่ให้ท่านช่วยเหลือมวลมนุษย์ ดังนั้นท่านจึงรุดไปยังภูเขา และเสกหินให้เป็นแพะ เดินตามเสียงขลุ่ย ของท่านมายังแม่น้ำ และถมก่อเป็นสะพานหินขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งฟ้าสาง สะพานก็สร้างเสร็จพอดี ประจวบกับที่น้ำมา ประชาชนก็เลยเดินข้ามฝั่งไปได้  และเรื่องนี้ก็กลายเป็นตำนานที่คนกล่าวขานถึงองค์ฮั่นเซียงจื้อโจวซือ พร้อมทั้งตั้งชื่อ สะพานนั้นว่า “สะพานเซียงจื้อ” หรือ “สะพานกวงจี้” ในปัจจุบันนั่นเอง





เฉ่าก๊กกู๋



อักษรจีน: 曹国舅
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: เฉ่าก๊กกู๋
ภาษาจีนกลาง: เฉากว๋อจิ้ว
(Cáo Guó Jiù​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Cáo​​​ อ่านว่า เฉา
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน
= Guó ​​​อ่านว่า กว๋อ
แปลว่า เมือง, ประเทศ, ชาติ
= Jiù​​​ อ่านว่า จิ้ว
แปลว่า พี่ชาย หรือน้องชายของ
มารดา รวมถึงใช้เรียกพี่ชายหรือ
น้องชายของภรรยาได้ด้วย ที่คน
ไทยคุ้นเคยกับคำว่า “อากู๋”
 
 
 
เฉ่าก๊กกู๋โจวซือ เป็นเซียนองค์ที่ห้าของโป๊ยเซียน เกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตามประวัติบอกไว้ว่าท่านเป็นน้องชายของเฉา ฮองเฮา สมเด็จพระราชินีของจักรพรรดิซ่งเหรินจง (เสวยราชย์ ในช่วง พ.ศ. 1565 - 1606) หรือก็คือพระมาตุลา (น้า) ของฮ่องเต้



รูปปั้นองค์เฉ่าก๊กกู๋โจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2



ชาวเมืองจึงต่างพากันเรียกท่านว่า “ก๊กกู๋” ซึ่งแปลว่า "พระ มาตุลา เมื่อยังเยาว์ได้ศึกษาอักษรศาสตร์ และวิทยาการ ต่างๆ จนเจนจัด แตกฉาน ท่านมีนิสัยที่เถรตรง มีเมตตา และรักสงบ แต่เนื่องจากท่านละอายที่น้องชายนั้นถืออำนาจ ของพี่สาวไปรังแก และก่อกรรมทำบาปกับชาวบ้าน จนถูก เปาบุ้นจิ้นตัดสินประหารชีวิต อีกทั้งตัวท่านเองก็เบื่อในชิวิต ราชสำนัก ท่านจึงตัดสินใจที่จะปลีกตัวออกมา เพื่อแสวงหา ความสงบสุขทางใจ คิดได้ดังนั้น ท่านก็ปฏิบัติตนอย่างนัก บวช ถือศีลกินเจ และออกหาที่วิเวก เพื่อบำเพ็ญเพียร ภาวนา มอบทรัพย์สมบัติให้กับบุตรภรรยา ทั้งยังแจกเงิน ทองส่วนที่เหลือ ให้เป็นทานแก่คนยากคนจน แล้วก็สวม เครื่องแต่งกายแบบเต้าหยิน เที่ยวเดินทางแสวงหาที่สงบ ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จนได้พบถ้ำที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง ก็จัดแจงทำความสะอาด และเข้าพำนักบำเพ็ญเพียร เจริญ ภาวนาอยู่ ณ ถ้ำนั้นเป็นเวลาหลายปี จนบรรลุผลสำเร็จ มีฌานตบะอันกล้าแข็ง


เหตุนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงองค์ไท้เสียงเหล่ากุง จึงได้มีบัญชาให้ องค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ และหลือต้งปิงโจวซือไปรับตัว เซียนทั้ง สองรับบัญชาแล้ว ก็เหยียบเมฆเหาะมายังถ้ำที่อยู่ขององค์ เฉาก๊กกู๋ ทั้งสามเมื่อได้พบกัน ก็ทักทายปราศรัยกันด้วย ความยินดี ซักพักองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือก็ถามท่านขึ้นว่า


  ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ: "ท่านก๊กกู๋ การที่ท่านปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทั้งนี้ เพื่อประสงค์สิ่งใดฤา"

  เฉาก๊กกู๋โจวซือ: "ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์สิ่งภายนอกใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากความ
แท้จริงภายในเท่านั้น"

  หลือต้งปินโจวซือ: "แล้วความแท้จริงนั้นอยู่ที่ไหนฤา"

องค์เฉาก๊กกู๋ได้ฟังดังนั้น ก็ยิ้ม แล้วชี้นิ้วขึ้นฟ้าเป็นคำตอบ

  หลือต้งปินโจวซือ: “แล้วที่ท่านชี้ขึ้นไปบนฟ้านั้นอยู่ที่ใด”

คราวนี้องค์เฉาก๊กกู๋กลับผงกศีรษะ หัวเราะชอบใจ แล้วลดมือชี้กลับมายังที่หัวใจ
เซียนทั้งสองเห็นดังนั้น ก็หัวเราะด้วยความพอใจ แล้วว่า

  ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ:
หลือต้งปินโจวซือ:
“ความแท้จริงนั้นก็คือใจ ใจก็คือฟ้า ฟ้าก็คือใจ บัดนี้ท่านค้นพบตัวเองแล้ว
การบำเพ็ญภาวนาก็เพื่อความเข้าถึงธาตุแท้แห่งใจ เมื่อท่านบรรลุผลดั่งนี้
แล้ว ก็เป็นอันท่านได้รับค่าแห่งการบำเพ็ญเพียรสมปรารถนาแล้ว ขอเชิญ
ท่านไปยังสำนักท่านอาจารย์ลีเล่ากุนด้วยกันเถิด”

องค์เฉาก๊กกู๋ก็คำนับเซียนทั้งสอง แล้วเหยียบเมฆเหาะไปยังเขาเล่งห่วยหวยพร้อมกัน จากนั้นองค์เฉ่าก๊กกู๋ ก็ได้รับการถ่าย ทอดมรรควิธี พร้อมทั้งคำชี้แนะ ให้ท่านมาช่วยเหลือโปรดมวลมนุษย์ จนกระทั่งสำเร็จเป็นเซียนในเวลาต่อมา




หน่าไฉฮั้ว



อักษรจีน: 蓝彩和
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: หน่าไฉฮั้ว
ภาษาจีนกลาง: หลานไฉ่หัว
(Lán Cǎi Huó​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Lán อ่านว่า หลาน
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน หรือเป็นคำ
แปลว่า สีน้ำเงิน, สีคราม
= Cǎi อ่านว่า ไฉ่
แปลว่า เก็บ, เด็ด รวม ส่วนมากใช้
กับการเก็บดอกไม้ ผลไม้ หรือพืช
ผัก
=
Huó อ่านว่า หัว
แปลได้หลายอย่าง สุภาพ, อ่อน โยน, เข้ากันได้, เสมอกัน หรือ สามัคคี
 
 
หน่าไฉฮั้วโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่หกของโป๊ยเซียน  เดิมแซ่น้า ชื่อชีฮุ้ง (棲雲) เป็นชาวเมืองเชี่ยงอัน (長安) เกิดในสมัย
ราชวงศ์ถัง เป็นคนรักอิสระ ชอบเดินทางท่องเที่ยว ร้องเพลงขอทานเรื่อยมา ถ้าวันใดขอทานได้เงินมามาก ก็แจกจ่ายให้แก่ คนแก่คนเฒ่าที่ยากจนทั้งหญิงชาย บางคราวนึกคึกขึ้นมา พอได้เงินอีแปะมามาก ก็เอาเชือกร้อยเป็นพวงยาว แล้ววิ่งเล่นไป ตามถนน ไม่สนใจว่าเชือกที่ร้อยพวงอีแปะจะขาด ท่านก็ไม่สนใจ ยังคงวิ่งลากไปจนเงินหมดพวง พวกคนยากจน และเด็ก ตามถนนก็พากันวิ่งตามเก็บกันอย่างชุลมุนสนุกสนาน


รูปปั้นองค์หน่าไฉฮั้วโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

ท่านมีอุปนิสัย และแบบอย่างคล้ายกับ "กวีหลีไป๋" หรือ "หลี่แป๊ะ" กวีเอกของจีนในสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อใดก็ตามที่ ท่านเมา ท่านก็จะขยับกรับในมือ เสียงก้องกังวาล พลางขับ ขานเพลงออกมา ด้วยน้ำเสียง และท่วงทำนองอันไพเราะ โดยบทเพลงที่ร้องออกมา ล้วนแต่เป็นเพลงภาษิต โคลง กาพย์ กลอน ที่สอดแทรกธรรมะเป็นคติเตือนใจคน ทั้ง เพราะ ทั้งน่าฟัง เป็นที่ชอบ และเพลิดเพลินใจ แก่ผู้คนทั้ง หลาย กรับประจำตัวของท่านนั้น มีรูปลักษณะผิดกับ กรับธรรมดา คือ ยาวถึง 4 คืบครึ่ง กว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ หนา 1/2 นิ้ว เนื้อกรับเป็นผิวมันเงาวาว คล้ายเนื้อหยก เวลา ที่ท่านขยับกรับ เสียงดังกังวาลน่าฟังยิ่งนัก


ต่อมาองค์ลี้ทิไกว้โจวซือ และองค์ฮั่นเจ็งลี้โจวซือ รู้ว่าองค์ หน่าไฉฮั้วนั้น มีบุญญาธิการที่จะมาช่วยเหลือมวลมนุษย์ ท่านจึงต้องการที่จะลองใจองค์หน่าไฉฮั้ว โดยเซียนทั้งสอง ได้หลอกให้องค์หน่าไฉฮั้วนั้นดื่มสุรา และเดินพูดคุยกันไป เรื่อยๆจนถึงสะพาน ซึ่งระหว่างทางที่เดินนั้น องค์หน่าไฉฮั้ว ก็ได้บอกกับเซียนทั้งสองว่า ตัวท่านเองนั้นมีความเก่งกล้า สามารถในด้านต่างๆมากมาย เซียนทั้งสอง เมื่อได้ยินดังนั้น จึงตอบกลับ เพื่อทดลองใจองค์หน่าไฉฮั้วไปว่า “ไม่จริง หรอกมั้ง เพราะหากท่านเก่งจริง ท่านก็ต้องสามารถกระโดด ลงไปในแม่น้ำ แล้วไม่จมน้ำสิ”


องค์หน่าไฉฮั้วได้ยินเข้า ก็ตอบกลับไปในทันทีว่า “ทำไมข้าจะไม่กล้าโดดล่ะ ข้าไม่กลัวตายหรอก” แล้วท่านก็เดินขึ้น สะพานไป จากนั้นก็กระโดดลงมาจากสะพานทันที แต่เมื่อตัวของท่านจะถึงพื้นน้ำ ก็เกิดสิ่งอัศจรรย์ มีกองขยะผุดขึ้นมา จากสายน้ำ เพื่อรองตัวของท่านไว้ แล้วก็ลอยไป จากนั้น ท่านก็ได้สำเร็จเป็นเซียนในเวลาต่อมา



ฮ้อเซียงโกว

อักษรจีน: 何仙姑
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: ฮ่อเซียงโกว
ภาษาจีนกลาง: เหอเซียนกู
(Hé Xiān Gū​​​)

ความหมายของชื่อ:

=
Hé อ่านว่า เหอ
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน
= Xiān อ่านว่า เซียน
แปลว่า เทวดา, เซียน
=
Gū อ่านว่า กู
แปลว่า สตรี
 
 
ฮ้อเซียงโกวโจวซือ เป็นเซียนองค์ที่เจ็ดของโป๊ยเซียน  เดิมแซ่ฮ้อ ชื่อค้วง (瓊) เป็นชาวเมืองเจิงเฉิง (增城市) ปัจจุบัน
คือ อำเภอเจิงเฉิง เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ท่านเกิดในสมัยราชวงศ์ถัง มีอุปนิสัยชอบทำบุญใส่บาตร ช่วยเหลือชาว
บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ โดยที่ไม่หวังสิ่งใดๆ ตอบแทน


รูปปั้นองค์ฮ้อเซียงโกวโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2


และเนื่องด้วยท่านเป็นคนที่ชอบทำบุญใส่บาตร อยู่เป็นนิจ นำข้าว และกับข้าวไปใส่บาตรทุกวัน แต่กลับนำน้ำข้าวมา ให้พี่ชายของท่านกิน ทั้ง ๆ ที่เค้าต้องออกไปทำนากลับมา พี่ชายของท่านเลยไม่ชอบใจนัก


อยู่มาวันหนึ่ง องค์ฮ้อเซียงโกวโจวซือได้พบกับองค์หลื่อต้ง ปิน  องค์หลื่อต้งปินโจวซือก็ได้บอกกับท่านว่า ท่านนั้นเป็น คนที่มีบุญญาธิการ สามารถสำเร็จเป็นเซียนได้ ตัวท่านเองก็
ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อตัวท่านนั้นมีภาระต่างๆ นาๆ ที่ต้องทำอยู่ องค์หลื่อต้งปินโจวซือก็เลยบอกกับท่านว่า แล้วซักวันท่านก็จะรู้เอง


จากวันนั้นมา องค์ฮ้อเซียงโกวก็ยังคงทำบุญใส่บาตร และ ช่วยเหลือผู้อื่นตลอดมาเรื่อยๆ จนมาวันหนึ่งพี่ชายของท่าน นั้นกลับมาจากการทำงาน กำลังหิวข้าวอย่างหนัก ท่านเห็น ดังนั้นก็รีบหุงข้าว และเทน้ำข้าวมาให้พี่ชายทานก่อน เนื่อง ด้วยคิดว่า พี่ชายกลับมาเหนื่อยๆ หากได้ดื่มน้ำข้าวก่อนจะ ได้รู้สึกดีขึ้น แล้วค่อยทำข้าวตามมาให้พี่ชายทานภายหลัง ทว่าพี่ชายของท่านไม่ได้คิดอย่างนั้น   เค้าคิดว่าท่านนั้นหุง


ข้าว แล้วเอาแต่น้ำข้าวมาให้เค้ากิน และจะเก็บข้าวที่หุงไว้นั้นไปใส่บาตร    ทั้งๆ ที่เค้าทำงานหนัก และเหนื่อยมาทั้งวัน แต่ กลับได้เพียงน้ำข้าว เพื่อทานเท่านั้น  พี่ชายท่านจึงเกิดบัลดาลโทสะ วิ่งไล่ตี องค์ฮ้อเซียงโกว ทันใดนั้นเอง องค์หลื่อต้งปิน โจวซือก็ได้มากระซิบกับองค์ฮ้อเซียงโกวว่า ให้ท่านวิ่งเข้าเตาไฟไป (เตาสมัยก่อนจะเป็นเตาขนาดใหญ่ ที่มีปล่องไฟออก มา) ท่านจึงวิ่งเข้าเตาไฟไป แต่แล้วท่านกลับลอยขึ้นมาออกทางปล่องไฟด้านบน จะลงก็ลงไปไม่ได้ องค์หลื่อต้งปินโจวซือ จึงได้มาบอกกับท่านว่า ท่านนั้นได้สำเร็จเป็นเซียนแล้ว ไม่ได้เป็นคนธรรมดาอีกต่อไป ให้องค์ฮ้อเซียงโกวนั้นออกตามท่าน ไปโปรดและช่วยเหลือมวลมนุษย์สืบต่อไป


เตียก๊วยเล่า

อักษรจีน: 张果老
ภาษาจีนแต้จิ๋ว: เจียงกั๋วเล้า
ภาษาจีนกลาง: จางกว๋อหล่าว
(Zhāng Guǒ Lǎo)

ความหมายของชื่อ:

=
Zhāng อ่านว่า จาง
เป็นแซ่หนึ่งของชาวจีน แปลว่า แผ่ขยายกว้างไกล
= Guǒ อ่านว่า กว๋อ
แปลว่า ผลไม้, ผลลัพธ์
=
Lǎo อ่านว่า หล่าว
แปลว่า แก่, เก่า, ชรา
 
 
เตียก๋วยเล่าโจวซือ เป็นเซียนองค์สุดท้ายลำดับที่แปดของโป๊ยเซียน เดิมแซ่เตีย ชื่อก้วย (果)  เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง ณ หมู่บ้านเชิงเขาเงี้ยวซัว


รูปปั้นองค์เตียก๋วยเล่าโจวซือ
ณ วิหารเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา ชั้น 2

ขณะเยาว์วัย ได้รับการถ่ายทอดสูตรแห่งเทวะ จากผู้วิเศษ จึงใช้วิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมานั้น จารึกไปยังแดนต่างๆ ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ยากแก่มวลมนุษย์ มีอุปนิสัย ชอบนั่งลาหันหลังกลับ โดยหันหน้าไปทางหางลา ซึ่งในยุค สมัยนั้น ก็มีบัณฑิตคนหนึ่งที่ประชดบ้านเมือง โดยการขี่ลา หันหลัง เหมือนเป็นการบอกว่าบ้านเมืองนั้น สับสนวุ่นวาย จนคนงุนงงต้องขี่ลาหันหลัง


แต่แท้จริงแล้ว สาเหตุที่ท่านขี่ลาหันหลังกลับ เนื่องด้วยตัว ท่านเองคิดว่า ถ้าหากท่านขี่ลาหันไปข้างหน้า ท่านก็จะเห็น มวลมนุษย์มากมาย ที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งท่านไม่ สามารถที่จะทั้งหมดได้พร้อมๆกัน ท่านจึงเลือกที่จะนั่งลา หันหลังกลับ หากท่านมองไปที่บ้านหลังไหน ท่านก็จะไป ช่วย ณ บ้านหลังนั้น ท่านทำอย่างนี้มาตลอด จนชาวบ้าน ขนานนามท่านว่า “ผู้เฒ่านั่งลาหันหลังกลับ เป็นผู้ที่ช่วย เหลือมวลมนุษย์” และท่านก็บำเพ็ญเพียรมาเรื่อย จนบรรลุ สำเร็จเป็นเซียนในที่สุด



ขอขอบคุณ   http://peawyeangtai31.org/diaguailao.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น