วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระสังกระจาย (พระมหากัจจายนะ)




พระสังกระจาย (พระมหากัจจายนะ)

พระสังกระจาย (พระมหากัจจายนะ)

พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต (ที่ปรึกษา) ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า “กัญจนะ” เพราะมีรูปร่างลักษณะงาม สง่า มีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้เรียนจบไตรเพท คือ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา พราหมณ์ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา

    เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวจาริกประกาศหลักธรรมคำสอนตามคามนิคม ชนบทอยู่นั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต มีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จสู่ กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ปุโรหิจกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือ โอกาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อเดินทางไปถึงก็รับเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนา ให้ ฟังและเท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธ องค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปนา เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ได้กราบทูล อาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางมา แต่พระ บรมศาสดารับสั่งให้ท่านไปเองพระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองก็จะเกิดศรัทธาเหมือนกัน พระมหากัจจายนะ จึงกราบทูลลาพระบรมศาสดาพาภิกษุบริวารอีก ๗ องค์นั้น เดินทาง กลับสู่กรุงอุชเชนี ประกาศหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาว เมืองได้สดับรับฟัง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่กระจายทั่วกรุงอุชเชนีแล้ว ท่านก็ได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก

พระเถระแปลงร่าง
    ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่าพระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้มีรูปร่างสง่างามผิวเหลือง ดุจทองคำสะอาดผ่องใจ เป็นที่ต้องตาถูกใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป จนกระทั่งมีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้น แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่า โสเรยยะ เหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยาน พาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระเถระกำลังยืนห่มจีวร เพื่อ เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดความพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า “งามจริงหนอ พระเถระ รูปนี้ น่าจะเป็นภริยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภริยาของเรามีสีผิวกายเหมือนพระเถระนี้” ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่าง ทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียน พ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา และได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น อยู่ร่วมกันจนมีบุตร ๒ คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมือง โสเรยยะนั้น เขาก็มีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียว กัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและแม่ หรือเป็นทั้งผัวและเมียในชาติเดียวกันนี้ ต่อมา พระมหากัจจายนเถระ จาริกมายังเมืองตักสิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราว ของตนที่ผ่านมาให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดย ตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธา เลื่อมใสในพระเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัต ภาพเดียวเท่านั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้ บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในกาลต่อมา พระมหากัจจายนะ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยยะแล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า “พระบรมศาสดาของพวกเรา เสด็จมาแล้ว” แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปลักษณ์ละม้ายกับพระผู้มีพระภาคนั้นเอง พระเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตรร่างกายของท่านให้เปลี่ยน แปลงผิดแปลกไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อ ต่ำเตี้ย ท้องป่อง หมดความสวยงามดังที่ พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการบูชาในทุกวันนี้

ได้รับยกย่องในทางอธิบายความย่อให้พิศดาร
    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหาร ที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้โดยย่อให้เข้าใจ ได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ ฟัง พระเถระได้อธิบายขยายความย่อให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะ ทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่าง นั้นเถิด” พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะ อธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ พระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มี ปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอ จงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด”

อีกเรื่องราว
    พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ ที่ ชาวพุทธทั่วไปมักเรียกเพี้ยนไปเป็น พระสังข์กระจาย นั้น แท้ที่จริงก็คือ พระมหาสังกัจจายนเถระ หรือ พระมหากัจจายนะ เถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในครั้งพุทธกาล พระสังกัจจายน์ ที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน เป็นภาพหรือรูปปั้นที่อ้วน พุงพลุ้ย ใบหน้าอิ่มเอิบ ยิ้มร่าอย่างมีเมตตา เป็นการแสดงถึงการมีโชค มีลาภ มีเมตตามหานิยมแก่ผู้สักการะบูชา แต่ก่อนที่จะมามีรูปลักษณ์อย่างนี้ พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ผิวพรรณผุดผ่อง ดุจทองคำ จนเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่คนทั่วไป ไม่ว่าชาย หรือหญิง เรียกว่าใคร ๆ ก็อยากเห็น อยากพบ อยากทำบุญด้วย เป็นเมตตามหานิยมที่เกิดขึ้นจากตัวท่านเอง จนสตรีเพศทั้งหลายต่างก็พากันหลงใหล ไปอยู่ที่ไหนก็มีสตรีหลายคนมาคอยเฝ้าดู เฝ้าชมกันอย่างไม่ลุกไปไหน จนเป็นการขัดขวาง การปฏิบัติสมณธรรม ท่านจึงไปทูลขออนุญาตจากพระพุทธองค์ เพื่อขอแปลงกาย ไม่ให้หล่อเหลางดงาม ซึ่งก็ทรงมีพุทธอนุญาตให้เป็นไปตามที่ขอพระสังกัจจายน์ จึงใช้ฤทธิ์อภิญญาของท่านแปลงกายให้อ้วนพุงพลุ้ย จนถึงต้องเอามืออุ้มไว้ เพราะมันใหญ่มาก แต่ใบหน้าก็ยังอวบอิ่มยิ้มร่าด้วยเมตตาบารมีแห่งความมีโชค มีลาภ ก็หมดปัญหาไป สำหรับการหลงใหล ในรูปร่างหน้าตา แต่ผู้คนก็ยังติดใจในเมตตาบารมีของท่านก็ยังทำบุญกับท่านอยู่เสมอ เปรียบได้กับ พระสีวลี ซึ่งเป็นพระอรหันต์แห่งโชคลาภ ก็ว่าได้ในเวลาที่หมู่สงฆ์จะต้องเดินทางจาริกไปทีละมาก ๆ หาก พระสีวลี ไม่สามารถที่จะเดินทางไปด้วยได้ หรือไม่อยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกให้ พระสังกัจจายน์ ไปด้วย เพื่อว่าหมู่สงฆ์จะได้ไม่ติดขัดเรื่องบิณฑบาตร ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น จริง ๆ อาหารบิณฑบาตร ก็จะเหลือเฟือไม่ขาดแคลน ถึงแม้ว่าหนทางนั้นจะมีหมู่บ้าน และผู้คนไม่มากนักก็ตาม เมื่อพระสีวลีไม่อยู่ แต่มี พระสังกัจจายน์ มา ก็เหมือนกับมี พระสีวลีอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครสงสัย เมื่อเห็นรูปปั้นท่านประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ก็มักไปบูชาขอโชค ขอลาภกันอยู่เสมอ แล้วก็นำองค์ท่านเล็ก ๆ ไปบูชาที่บ้าน ที่ร้านค้า บริษัท เพื่อกิจการค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จะได้ก้าวหน้า เจริญเติบโต ด้วยบารมีของท่าน และผู้บูชาสักการะเอง

บุตรเศรษฐี
     มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีหนึ่งขื่อ “โสเรยยะ” มีบ้านเรือนพักอาศัยอยู่ใน โสเรยยนคร วันหนึ่งได้เห็น พระสังกัจจายน์เข้า ก็ตื่นตาตื่นใจ เพราะความรูปงามของท่านจึงคิดอกุศลกำหนดให้ท่านเป็นหญิง แล้วลวนลามทางจิตที่คึกคะนอง ด้วยจิตทีคิดพิเรนทร์ต่อพระอรหันต์เจ้า บุตรเศรษฐีโสเรยยะที่เป็นเพศชาย ก็กลับกลายเป็นเพศหญิง มีอวัยวะของสตรีครบสมบูรณ์ประหนึ่งหญิงแท้ ๆ ด้วยความอับอาย บุตรเศรษฐีโสเรยยะ จึงหนีไปอยุ่เมืองอื่น จนได้สามีและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาภายหลังได้กลับมาขอขมาท่าน จึงได้กลับเป็น ชายอย่างเดิม เรื่องราวดูน่าเหลือเชื่อ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้ ก็ล้วนเหลือเชื่อทั้งนั้น

ย้อนดูประวัติ
     ย้อนกลับไปดูเรื่องราวประวัติตั้งแต่ต้นของท่านสักนิด แต่เดิมนั้นท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท ครั้งบิดาเสียชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดากาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า ได้บังเกิดพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จเที่ยวโปรดสั่งสอนประชาชน ธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ แก่ผู้ประพฤติปฎิบัติตาม มีพระราชประสงค์จะใคร่เชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา ไปประกาศพระศาสนาที่ กรุงอุชเชนี จึงสั่ง กัจจายนะปุโรหิต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพท ไปทูลเชิญเสด็จ เมื่อมีโองการสั่งเช่นนั้น ท่านกัจจายนะปุโรหิต ซึ่งมีความศรัทธาอยู่ก็ถือโอกาสทูลลาบวชด้วย ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนี พร้อมด้วยบริวาร 7 คน รอนแรมมาถึงยังที่ประทับพระบรมศาสดา ก็พากันเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอน ในที่สุดทั้ง ท่านกัจจายนะ และบริวารทั้ง 7 ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จโปรด ชาวอุชเชนี ตามประสงค์ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดารับสั่งว่า ท่านไปเองเถิด เมื่อไปแล้ว พระจัณฑปัชโชต และชาวเมืองจะเลื่อมใส ด้วยเหตุนี้ พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ จึงถวายบังคมลาเดินทางกลับ กรุงอุชเชนี ประการพระพุทธศาสนาให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองเลื่อมใส แล้วกลับคืนมายังสำนักพระบรมศาสดาเป็นผู้เลิศ พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความที่ย่อให้พิสดาร เช่นครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร แต่โดยย่อท่ามกลางสงฆ์ โดยแสดงธรรมว่า“ผู้มีปัญญาไม่ควรคิดตาม คิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้งรู้ธรรมนั้นแล้วพึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบ ระงับย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีราตรีเดียว"ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกไปสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสที่จะทูลถาม ความที่พระองค์ตรัสโดยย่อ นั้นให้กว้างขวางได้ จึงอาราธนาขอให้ พระสังกัจจายนะอธิบายให้ฟังท่านอธิบายความว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้นตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลล่วงแล้วตากับรูปหูกับเสียงจมูกกับกลิ่นลิ้นกับรสกายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกายใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามี แล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณ อันความกำหนัดพอใจ ผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วไม่คิดอย่างนั้นความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้านัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจะเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า มุ่งหมาย สิ่งที่ยังมาไม่ถึงบุคคลไม่ได้ตั้งจิตเพื่อจะหมายสิ่งใด สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วนัยน์ตากับรูปอย่างละสอง อันใด เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณไว้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดเฉพาะหน้าถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้เชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าท่านผู้มีอายุเราเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อตามความ พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลาย ประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร จงจำไว้อย่างนั้นเถิด ภิกษุเหล่านั้น ลาพระมหากัจจายนะกลับเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสสรรเสริญ พระมหากัจจายนะ ว่า“ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา ถ้าท่านถามความนั้นกับเรา แม้เราก็คงเล่าเหมือน กัจจายนะ เล่าอย่างนั้น ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น อย่างนั้นแล ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด” ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับ การยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้อธิบายความย่อให้พิสดารด้วยความใส่ใจพระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นผู้ที่เอาใจใส่ สนใจในการพระศาสนามากองค์หนึ่ง ธรรมวินัยใด ที่ขัดต่อภูมิประเทศ ไม่สะดวกที่สงฆ์จะปฏิบัติตามได้โดยลำบากแล้ว ท่านก็จะทูลชี้แจง ขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขให้เหมาะสม ให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอเช่นครั้งหนึ่งท่านไปพำนักหาวิเวกอยู่ ณ ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุธฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฎฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีความประสงค์จะบวชในธรรมวินัย แต่ก็ยังบวชไม่ได้ เพียงแต่บรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น เวลาล่วงไปถึง 3 ปี จึงมีโอกาสอุปสมบทได้ เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้น หาภิกษุเป็นคณะครบองค์ไม่ได้ (10 รูปขึ้นไป)

    เมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะอุปสมบทแล้ว มีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลา พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ผู้อุปัชฌาย์ ท่านอนุญาตแล้ว สั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของท่าน โดยให้พระองค์ ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ซึ่งขัดต่ออวันตีชนบท 5 ข้อ ด้วยกันคือ

ในอวันตีทักขิณาปถชนบทมีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะน้อยกว่า 10 รูป ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้เหลือเพียง 5 รูป สำหรับชนบทชายแดนทั่วไป
เนื่องด้วยมีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ไม่สะดวกต่อการเดินทาง พระภิกษุในชนบทได้รับความลำบากมากนัก ขอพุทธานุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าเป็นชั้น ๆ ในชนบทชายแดนได้ พระองค์ก็ทรงอนุญาต
พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขออนุญาตพระภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์เถิด พระองค์ก็ทรงอนุญาติ
ในชนบทนั้นมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแพะ หนังแกะบริบูรณ์ดีในชนบทหาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น ขอให้ภิกษุใช้หนังแพะ หนังแกะเป็นเครื่องลาดได้ในชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตตามนั้น
ในการที่มนุษย์ถวายผ้าจีวรแก่ภิกษุก็เช่นกัน เมื่อภิกษุไม่อยู่เขามาถวายฝากไว้ เมื่อเธอกลับมา ภิกษุที่ รับฝากไว้แจ้งให้เธอทราบ เธอรังเกียจไม่ยินดีรับ เพราะล่วง 10 ราตรีแล้ว เข้าใจว่าเป็นอาบัตินิสสัคคิยะ จำต้องสละผ้านั้น เป็นการลำบากสำหรับชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตว่า เราอนุญาต ให้พระภิกษุรับผ้าที่เขาถวายลับหลังได้ ผ้ายังไม่ถึงมือเธอเมื่อใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น
    อันนี้ก็เป็นความเอาใจใส่ดูแลพระพุทธศาสนาของท่าน โดยไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กน้อยผ่านไปวรรณะใดเลิศ เมื่อครั้ง พระสังกัจจายน์หรือพระมหากัจจายนะ อยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เสด็จไปหา แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระกัจจายนะ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ถือว่า พวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร

พระสังกัจจายน์หรือ พระมหากัจจายนะ ทูลตอบว่า วรรณะสี่เหล่าไม่ต่างกันดังนี้
ในวรรณะ 4 เหล่านี้ วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง ไม่ว่าวรรณะเดียวกันหรือวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรรณะนั้น
วรรณะใดประพฤติ อกุศลกรรมบท เบี้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่ อบาย เสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ
วรรณะใดประพฤติ กุศลกรรมบท เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันหมด
วรรณะใดทำ โจรกรรม ประพฤติล่วงเมียคนอื่น วรรณะนั้นต้องรับ อาชญา เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
วรรณะใด ออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับ ความนับถือ และได้รับ บำรุง
และได้รับ คุ้มครองรักษาเสมอ กันหมดฯ
    ครั้งพระเจ้ามธุรราช ได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถระเจ้า กับ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ พระเถระทูลห้ามว่า อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะ ของอาตมาภาพ เป็นสรณะเถิดพระเจ้ามธุรราช ตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ท่านทูลว่า พระผู้มีพระภาพเจ้า ปรินิพพานเสียแล้ว พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ที่ใด แม้ใกล้ไกลเท่าใด พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ แต่เมื่อพระผู้มีพระภาพเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ ขอถือพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้วกับ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งข้อนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขาร อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ปรินิพพานฯ

สุดท้าย
    พระมหากัจจายนะนี้ ทางฝ่ายมหายานเขาถือไปอีกอย่าง คือถือว่าท่านยังเป็นพระโพธิสัตย์อยู่ จะได้มาตรัสรู้ เป็นพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคต ซึ่งฟังดูไม่แน่ใจนัก เพราะทางฝ่ายเถรวาท เราถือว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว สิ้นจากอัตภาพนี้ไป ก็เข้าสู่ปรินิพพาน แต่โดยทั่วไปต่างถือกันว่าท่านมี บารมีทางโชคลาภ มีรูปปั้นท่านประดิษฐานอยู่ที่ใด ผู้คนมักไปบูชาขอโชคขอลาภกัน


ขอขอบคุณ  http://www.tekkacheemukkhor.com/History_sangkajai.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น